วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง


1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
          1.1 ความหมาย
          การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง มีความหมาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังนี้
1) พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 46 เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้
(5) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน  ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์
มาตรา 48 ให้สหกรณ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำอธิบาย มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ความว่า
การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ในบทบัญญัตินี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองหรือเป็นหลักประกันเงินฝากของสมาชิก โดยให้สหกรณ์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เช่น เงินสด หรือเงินฝากธนาคาร เป็นต้น ไว้ให้พร้อมที่จะจ่ายคืนเงินฝากให้แก่สมาชิกได้เสมอเมื่อทวงถาม (ปรีชา สุวรรณทัต และทรงพล พนาวงศ์, 2555: 51)
หลักเกณฑ์วิธีการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับสหกรณ์ที่รับเงินฝากให้เป็นไปตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดโดยกฎกระทรวง ซึ่งปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 (ปรีชา สุวรรณทัต และทรงพล พนาวงศ์, 2555: 52) และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสหกรณ์ ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2550
2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 9 /2558 เรื่องหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาคล่องเพื่อรองรับสถานการณ์ด้านสภาพคล่องที่มีความรุนแรง (Liquidity Coverage Ratio: LCR)
เหตุผลในการออกประกาศ
เนื่องจากความเสี่ยงด้านสภาพศส่องเป็นความเสี่ยงที่สําคัญต่อความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินที่มีต่อสถาบันการเงิน แม้ว่าสถาบันการเงินจะมีฐานะการเงินที่มั่นคง แต่หากไม่สามารถจ่ายชําระผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ตามภาระผูกพันที่มีอยู่ได้ ก็อาจทําให้สถาบันการเงินนั้นไม่สามารถดําเนินธุรกิจต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีการกําหนดหลักเกณฑ์กํากับดูแลความเสี่ยงด้าน สภาพคล่องทั้งหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพ คือ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 41/2551 เรื่อง การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงิน สงวันที่ 3 สิงหาคม 2551 และแนวนโยบาย ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 28 มกราคม 2553 และหลักเกณฑ์เชิงปริมาณ คือ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 7/2555 เรื่อง การกําหนดให้ธนาคารพาณิชย์ตํารงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2555
การกําหนดหลักเกณฑ์การดํารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีสินทรัพย์สภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับการ ไหลออกของแหล่งเงินจากประชาชนทั้งที่อยู่ในรูปเงินรับฝากและเงินกู้ยืมบางประเภท รวมถึงการกู้ยืม เงินจากการออกตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งแม้หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะ เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในช่วงก่อนหน้านี้ที่เน้นการรับเงินฝากและปล่อย สินเชื่อ (Traditional banking businesses) แต่ด้วยวิวัฒนาการของธนาคารพาณิชย์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้หลักเกณฑ์ปัจจุบันไม่สามารถสะท้อนความเสี่ยงด้านสภาพคล่องใต้ดีเท่าที่ควร กล่าวคือ ธุรกรรม การระดมเงินทุกประเภทจะมี Regulatory cost จากการสํารงสินทรัพย์สภาพคล่องหรือเงินทุนที่มี ความมั่นคงเท่ากัน แม้ธุรกรรมการระดมเงินแต่ละประเภทมีความอ่อนไหวและโอกาสที่จะถูกไถ่ถอน หรือเรียกคืนที่ต่างกัน ซึ่งสะท้อนการมีระดับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่แตกต่างกันก็ตาม รวมถึงสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดํารงก็ไม่สะท้อนมูลค่าที่อาจลดลงจากการเปลี่ยนเป็นเงินสดในตลาด
ในขณะเดียวกัน หลายประเทศได้ประสบปัญหาวิกฤตการเงินโลกและปัญหาของสถาบัน การเงินในช่วงปี 2550 – 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งความเสี่ยงด้านสภาพคล่องถือเป็นสาเหตุสําคัญสาเหตุหนึ่ง ของวิกฤตดังกล่าว Basel Committee on Banking Supervision (BCBS) จึงกําหนดเกณฑ์ มาตรฐานขั้นต่ําเชิงปริมาณด้านสภาพคล่อง (Basel Il framework for liquidity) ซึ่งประกอบด้วย หลักเกณฑ์ Liquidity Coverage Ratio (LCR) หลักเกณฑ์ Net Stable Funding Ratio (NSFR) และ การกําหนด Monitoring tools เพื่อให้ผู้กํากับดูแลสถาบันการเงินมีข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการกํากับ ดูแลอย่างครบถ้วน โดยใช้ควบคู่กับหลักเกณฑ์เชิงคุณภาพที่เน้นการกําหนดหลักการ (Principles) ในการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องที่มีมาอยู่แต่เดิม

2. สภาพคล่องทางการเงิน
            2.1 ความหมาย
          สภาพคล่อง (Liquidity) ทางการของธุรกิจ หมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มิใช่เงินสดให้เป็นเงินสดในจำนวนที่เพียงพอและทันเวลาสำหรับชำระหนี้ระยะสั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขาดแคลนเงินสดมาใช้หมุนเวียน (TDC Report ฉบับที่ 16 ประจำวันที่ 18 กุมภาพนธั 2553)
          สภาพคล่อง (Liquidity) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสภาพสินทรัพย์ให้เป็นเงินสดเพื่อนําไปชําระหนี้สินระยะสั้น สินทรัพย์ใดที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายและรวดเร็วถือว่าสินทรัพย์นั้นมีสภาพคล่องสูง กิจการที่มีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายเป็นจํานวนมาก กิจการนั้นจะมีสภาพคล่องสูง
          การวิเคราะห์สภาพคล่อง นี้เป็นการวัดความสามารถของกิจการในการจ่ายชําระหนี้ระยะสั้นเจ้าหนี้ระยะสั้น เช่น เจ้าหนี้การค้า และธนาคารจะสนใจอัตราส่วนในกลุ่มนี้ ซึ่งจะให้ความสําคัญกับกระแสเงินสดและเงินทุนหมุนเวียนของกิจการซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเงินสดในระยะสั้น (https://www.cvc.ac.th/cvc2011/files/10112711111051_16051916161741.pdf, หน้า 127)   
          ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่สามารถชำระหนี้สินและภาระผูกพันเมื่อถึงกำหนด เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงินสดได้ หรือไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้เพียงพอ หรือสามารถจัดหาเงินทุนได้แต่ด้วยต้นทุนที่สูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และเงินกองทุนของบริษัทฯและบริษัทย่อยในปัจจุบันและในอนาคต โดยกลไกการบริหารความเสี่ยงจะเริ่มจากการประเมินกระแสเงินสดและฐานะสภาพคล่องในแต่ละช่วงเวลาที่ บริษัทฯและบริษัทย่อยอาจมีความต้องการเงินทุนแตกต่างกันเพื่อรองรับการครบกำหนดของเงินกู้ยืม การลดหนี้สินประเภทอื่นลง หรือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ โดยใช้เครื่องมือทั้งที่เป็นแบบจำลองวิเคราะห์ฐานะสภาพคล่อง (Liquidity Gap Analysis) อัตราส่วนด้านสภาพคล่องต่าง ๆ ตลอดจนการใช้สถานการณ์จำลองโดยการตั้งสมมติฐาน (“What if” Scenarios) เพื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบว่า บริษัทฯและบริษัทย่อยจะยังคงมีสภาพคล่องที่เพียงพอหรือไม่ ภายใต้กระแสเงินสดที่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ของลูกค้าในการต่ออายุสัญญาเมื่อครบกำหนด นอกจากนี้ ยังได้ประมาณการความต้องการสภาพคล่องภายใต้สมมติฐาน ที่แตกต่างกันตามภาวะเศรษฐกิจและเหตุการณ์ไม่ปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัทฯและบริษัทย่อยเองและเกิดกับระบบสถาบันการเงิน (https://www.thanachart.co.th/th/sustainability/risk-factors)
          2.2 อัตราส่วนที่แสดงสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ
          1) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
2) อัตราส่วนทุนหมุนเวียนอย่างถึงแก่น (Quick Ratio or Acid Test Ratio)
3) อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
4) อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ (Account Payable Turnover)
5) อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
          2.3 เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน
          1. ทุนหมุนเวียนดำเนินงาน (Working Capital) ในบางคราวเรียกว่า ทุนหมุนเวียนดำเนินงานขั้นต้น (Gross Working Capital) ซึ่งจะหมายความถึงสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด
          2. ทุนหมุนเวียนดำเนินงานสุทธิ (Net Working Capital) หมายถึงผลต่างระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งได้จากการนำสินทรัพย์หมุนเวียนลบด้วยหนี้สินหมุนเวียนของกิจการ โดยทั่วไปควรจะมีค่าเป็นบวก
          3. งบประมาณเงินสด  (Cash Budget)  เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องของกิจการในระยะสั้น ซึ่งจะประกอบด้วยกระแสเงินสดรับ กระแสเงินสดจ่าย กระแสเงินสดสุทธิ และปริมาณเงินสดส่วนเกินหรือขาดในช่วงระยะเวลาที่ทำงบประมาณ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของกิจการในการแสวงหาลู่ทางการลงทุน หรือการจัดหาเงินในระยะสั้น ที่จะเกิดขึ้น
          4. นโยบายเกี่ยวกับทุนหมุนเวียนดำเนินงาน  ซึ่งจะกำหนดสัดส่วนและระดับของสินทรัพย์หมุนเวียนแต่ละรายการที่ต้องการ และการจัดหาเงินทุนสำหรับสินทรัพย์เหล่านั้นว่าจะลงทุนด้วยแหล่งทุนแบบใด ในการบริหารทุนหมุนเวียนดำเนินงานหรือสภาพคล่องของกิจการนั้น นอกจากจะต้องกำหนดนโยบายในเรื่องนี้แล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับการกำกับดูแลแบบวันต่อวัน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายด้วย (นุกูล กรยืนยงค์, 2556: 60)

3. สรุป
          การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องกับสภาพคล่องทางการเงิน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
          1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงิน หรือองค์กรทางการเงิน หรือสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร ที่ดำเนินธุรกิจรับฝากเงิน
          สถาบันการเงินหรือองค์กรทางการเงิน คุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินที่เป็นบุคคล (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล)
          สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร คุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินที่เป็น สมาชิก หรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน
       2. สภาพคล่องทางการเงิน เป็นการบริหารจัดการธุรกิจให้อยู่ในสภาวะที่ไม่มีความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) หรือมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ กิจการมีความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มิใช่เงินสดให้เป็นเงินสดในจำนวนที่เพียงพอและทันเวลาสำหรับชำระหนี้ระยะสั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขาดแคลนเงินสดมาใช้หมุนเวียน
               3. สภาพคล่องทางการเงิน มีความครอบคลุมไปถึงทุกธุรกิจของกิจการ ฉะนั้นการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งของการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจโดยรวมด้วย

ทำไมเราต้องเชื่อว่า “สหกรณ์เป็นวิสาหกิจไม่แสวงหากำไร”

นับจากวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1844 ที่ Rochdale Pioneers ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลกอย่างเป็นทางการ นับถึงปัจจุบันก็เป็นปีที่ 180 ...