วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

13 เรื่องสำคัญในวาระ “107 ปี การสหกรณ์ไทย”

 1. ทศวรรษการเปลี่ยนแปลงวิถีเศรษฐกิจจาก Self Sufficiency สู่ Marketing System

- การค้าสำเภา

- การค้ากับประเทศยุโรป

- Burney Treaty 2369

- Bowring Treaty 2398

- จุดเริ่มต้นการค้าเสรีของสยาม

2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของสยาม

- ข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ

- มูลค่าการส่งออกข้าว ประมาณ 71 ล้านบาท

- พื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3 แสนไร่

- การขุดคลอง และการจับจองที่ดิน

- 2413 - 2475 ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า

3. ความทุกข์ยากของชาวนา

- การกู้ยืมเงินของชาวนาจำกคหบดีหรือพ่อค้าปล่อยเงินกู้ (อัตราดอกเบี้ยสูงมาก)

- ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

          - 2453 น้ำป่าไหลท่วมที่นา

          - 2454 ฝนแล้ง

          - 2460-2462 ความผิดปกติของภูมิอากาศ การปลูกข้าวเสียหายหนัก

- 2473-2475 เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ข้าวราคาตก

- รัฐบาลเกิดปัญหาการคลัง

- ปัญหาหนี้สินชาวนา

4. จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาชาวนา

- ธนาคารเกษตร

- 2457 Sir Bernard Hunter เสนอให้ บริษัทแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด เป็นธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ

- ให้ชาวนารวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อช่วยเหลือกันและกัน Co-operation

- 2457 เพิ่มแผนกสหกรณ์ในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์

- 2457 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ บัญญัติคำว่า "สหกรณ์"

5. จุดเริ่มต้นการสหกรณ์ไทย

- 2458 ที่ประชุมสมุหเทศาภิบาลประจำปี แถลงจะใช้วิธสหกรณ์ช่วยชาวนาแก้ปัญหาขาดแคลนทุน

- พ.ร.บ.สมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459

- กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์คนแรก

- 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 จัดตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้

          - สมาชิก 16 คน

          - ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท

                   - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท

-        เงินกู้แบงค์สยามกัมมาจล 3,000 บาท (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี)

-        ให้สมาชิกกู้ยืมไปใช้หนี้และลงทุนทำนาอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี

6. ปลดแอกดอกเบี้ยแพง

- 2468 บทสะท้อน-สมาชิกกู้เงินสหกรณ์

- ซื้อที่นา

- ซื้อสัตว์พาหนะ

- ซื้อเครื่องมือทำนา

- ซื้อข้าวสำหรับบริโภคและเพราะปลูก

- สมาชิกส่วนใหญ่นำเงินไปชำระหนี้เก่าร้อยละ 53.56

7. รากฐานงานด้านสหกรณ์ สมัย ร.7

- พ.ร.บ. สหกรณ์ 2471 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเพาะปลูกและจำพวกอื่น ๆ ที่มีกำลังทรัพย์น้อยแต่มีความต้องการ อย่างเดียวกัน หมู่ชนนั้น ๆ ควรได้รับอุดหนุนให้ตั้งสหกรณ์

- 2472 สหกรณ์ 128 แห่ง สมาชิก 2,157 คน ปริมาณธุรกิจเงินกู้ 511,365.78 บาท

- ทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล 500,000.00 บาท และทุนเดิม 1,000,000.00 บาท

8. การจัดตั้งสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ

- 2459 สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้

- 2478 สหกรณ์เช่าซื้อที่ดินลำลูกกา จำกัด

- 2480 ร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้

- 2484 สหกรณ์ผู้ทำร่มบ่อสร้าง จำกัดสินใช้

- 2492 สหกรณ์ประมงพิษณุ จำกัด

- 2492 สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้

- 2495 สหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้

          - ต้นกำเนิดชุมนุมสหกรร์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

          - ต้นกำเนิดชุมนุมสหกรณ์ร้านค้าแห่งประเทศไทย จำกัด

- 2508 เครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา (ไม่ได้จดทะเบียน)

- 2522 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด

9. การควบรวมสหกรณ์หาทุน

- พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2511

- สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

- สหกรณ์หาทุน สู่สหกรณ์การเกษตร

- กฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516

          - สหกรณ์ 6 ประเภท (เกษตร นิคม ประมง ออมทรัพย์ ร้านค้า และบริการ)

10. ประกาศวันสหกรณ์แห่งชาติ

- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2527 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ

- รำลึกถึงพระกรุณาธิคุณขององค์ผู้ให้กำเนิด "สหกรณ์"

- แซ่ซ้องสรรเสริญพระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย พระราชวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

11. ยุคแห่งการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 85 รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ (9) ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เป็นอิสระและการรวมกลุ่มการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ ตลอดทั้งการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อดำเนินกิจการด้านเศรษฐกิจ

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 75 วรรคสาม รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน

- พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบสหกรณ์มีความเข้มแข็งและสามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง โดยสมาชิกตามวิถีทางประชาธิปไตย อันเป็นการวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของประชาชน

          - ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553

          - ฉบับที่ 3. พ.ศ. 2562

                   - มาตรา 89/2 การกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

12. 100 ปี การสหกรณ์ไทย

- คำขวัญ "100 ปี สหกรณ์ไทย พัฒนา เศรษฐกิจก้าวไกล สร้างสังคมไทยมั่นคง"

- 30 กรกฎาคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการประกาศให้สหกรณ์เป็นวาระ แห่งชาติ

- 22 ตุลาคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์และแนวทางในการดำเนิน งานตามข้อเสนอวาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์

- ยุทธศาสตร์วาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์

          - ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนาการเรียนรู้และทักษะการสหกรณ์ สู่วิถีชีวิตประชาชนในชาติ

          - ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุนและพัฒนาการรวมกลุ่มของประชาชน ด้วยวิธีการสหกรณ์ให้เป็นฐานรากสำคัญใน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

          - ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบ การผลิตการตลาดและการเงินของสหกรณ์

          - ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนแผน พัฒนาการสหกรณ์ให้เป็นเครื่องมือ ในการสร้างความเข้มแข็งของขบวนการสหกรณ์

          - ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐขบวนการ สหกรณ์และปรับปรุงกฎหมายสหกรณ์ให้เอื้อต่อการพัฒนา

13. 107 ปี การสหกรณ์ไทย

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)

          - ตัวชี้วัดที่ 3.1 จำนวนสหกรณ์ภาคเกษตรในชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งสหกรณ์เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 18 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

          - ตัวชี้วัดที่ 3.2 จำนวนกลุ่มเกษตรกรในชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 6 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

- แผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570)

          สหกรณ์เข้มแข็งและเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

          - ยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการในสหกรณ์สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการขับเคลื่อนองค์กรและดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับศักยภาพและสมรรถนะการดำเนินธุรกิจ ตามลักษณะธุรกิจและประเภทของสหกรณ์

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างการเชื่อมโยงและร่วมมือกันทางธุรกิจและสังคม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 6 การปรับโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ขบวนการสหกรณ์และภาครัฐ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

- สหกรณ์ 7,622 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 4,308 แห่ง

- สมาชิกสหกรณ์ 11,363,895 คน สมาชิกกลุ่มเกษตรกร 393,080 คน

- ปริมาณธุรกิจสหกรณ์ 2,267,015.70 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร 7,024.35 ล้านบาท

ทำไมเราต้องเชื่อว่า “สหกรณ์เป็นวิสาหกิจไม่แสวงหากำไร”

นับจากวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1844 ที่ Rochdale Pioneers ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลกอย่างเป็นทางการ นับถึงปัจจุบันก็เป็นปีที่ 180 ...