วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การดำเนินธุรกิจรับฝากเงินของสหกรณ์

 

ประเด็น

กรณีปัญหา

แนววินิจฉัย

ข้อกฎหมาย

กฎหมาย

การรับฝากเงินจากสมาชิกสหกรณ์ซึ่งสมาชิกนั้นนำเงินของบุคคลอื่นมาฝาก

กรณีที่ 1 ผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 2 ครูสมาชิกสหกรณ์นำเงินของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 3 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของวัดมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อวัด หรือในนามวัด

 

 

กรณีที่ 4 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของโรงเรียนมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อโรงเรียน หรือในนามโรงเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 5 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกองทุนหมู่บ้านมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกองทุนหมู่บ้าน หรือในนามกองทุนหมู่บ้าน

 

 

 

 

กรณีที่ 6 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์มาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์ หรือในนามกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 7 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกลุ่มธรรมชาติที่ไม่ใช่สมาชิกสหกรณ์มาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกลุ่มธรรมชาติ หรือในนามกลุ่มกลุ่มธรรมชาติ

ผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์ สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากแก่เจ้าของทรัพย์ ซึ่งถือเป็นดอกผลนิตินัยของทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. ม 148

ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์

ทั้งต้นเงินฝากและดอกเบี้ยเงินฝากจึงเป็นของบุตรผู้เยาว์ มิใช่ของผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์

ฉะนั้นสหกรณ์จึงไม่สามารถรับฝากเงินจากผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์ เนื่องจากขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สหกรณ์ไม่สามารถรับฝากเงินจากครูสมาชิกสหกรณ์นำเงินของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เนื่องจากทั้งต้นเงินฝากและดอกเบี้ยเงินฝากเป็นของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มิใช่ของครูสมาชิกสหกรณ์ จึงขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อกฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564 และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549 หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

สามารถดำเนินการได้ แต่สหกรณ์ต้องกำหนดข้อบังคับให้มีอำนาจกระทำการส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มรวมกันผลิต กลุ่มรวมกันซื้อ กลุ่มรวมกันขาย และกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ กำหนดระเบียบสหกรณ์ ว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มรวมกันผลิต กลุ่มรวมกันซื้อ กลุ่มรวมกันขาย และกลุ่มออมทรัพย์ และในการฝากเงินต้องไปไปตามที่ระเบียบกำหนด

 

ไม่สามารถดำเนินการได้หาก แม้จะมีสมาชิกบางคนในกลุ่มเป็นสมาชิกสหกรณ์ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ ม. 46 (5) และมีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร

 

 

มาตรา 148 ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย

ดอกผลธรรมดา หมายความว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น

ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ

มาตรา 1573 ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วนที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้ เว้นแต่จะเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรม ซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ

ดูมาตรา 1574 และ 1598/4 ประกอบ

 

มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ดอกเบี้ยเงินฝากและผลตอบแทนเงินฝาก ต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือนนับแต่วันที่เริ่มฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาทต่อเดือน และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกแสนบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา 5 ในกรณีที่การฝากเงินไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด ให้ถือว่าเป็นกรณีที่สหกรณ์ออมทรัพย์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายขาดไปสําหรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากส่วนที่ได้จ่ายไปแล้ว และให้สหกรณ์ออมทรัพย์นําส่งภาษีส่วนที่ขาดพร้อมกับเงินเพิ่มร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีส่วนที่ขาดโดยไม่มีเบี้ยปรับ ให้สหกรณ์ออมทรัพย์นําส่งภาษีและเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งโดยยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการผิดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์อันเป็นเหตุให้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกา

 

ข้อ 2 ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเป็นดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากที่ผู้มีเงินได้เปิดขึ้นใหม่โดยเฉพาะแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และผู้มีเงินได้ต้องมีบัญชีเงินฝากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นี้บัญชีเดียว

ข้อ 3 การฝากเงินดังกล่าวจะต้องเป็นการฝากตามวงเงิน และภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน จะขาดการฝาก หรือฝากไม่ครบตามวงเงินที่กำหนด หรือฝากล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด กรณีใดกรณีหนึ่งหรือทุกกรณีรวมกันเกินสองเดือนไม่ได้

ข้อ 4 ชื่อบัญชีเงินฝากจะต้องเป็นชื่อของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากนั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

ข้อ 7 ผู้ฝากเงินต้องแจ้งเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของตนต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ผู้รับฝากเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว กรณีที่ผู้ฝากเงินตามวรรคหนึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน  ให้แจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ผู้รับฝากเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว

ข้อ 8 สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากตามข้อ  2 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินต่อสำนักงาน สรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ย  หรือผลตอบแทนเงินฝากตั้งอยู่แล้วแต่กรณี

 

ข้อ 5 (2) ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์ บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม

 

มาตรา ๓๓ สหกรณ์จะตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และต้อง (๒) มีสมาชิกเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ

มาตรา ๔๑ สหกรณ์ตามมาตรา ๓๓/๑ อาจรับสมาชิกสมทบได้

สมาชิกสมทบต้องเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งบรรลุนิติภาวะ เว้นแต่สหกรณ์ตาม มาตรา ๓๓/๑ (๔) (๖) หรือ (๗) ที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาอาจรับผู้ศึกษาในสถานศึกษานั้นซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะให้เป็นสมาชิกสมทบได้

สมาชิกสมทบต้องมีความสัมพันธ์กับสหกรณ์หรือสมาชิกสหกรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนด...

มาตรา ๔๖ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้

(๕) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อ 7 การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกินหนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้เก็บรักษาโดยฝากธนาคารในนามของวัด หรือวิธีการอื่นใดตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด การดูแลรักษาและจัดการเงินการกุศลที่มีผู้บริจาค ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค

 

 

ข้อ 6 ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเงินสดไว้เพื่อสำรองไข้จ่ายได้ภายในวงเงินที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง นอกนั้นให้นำฝากกระทรวงการคลังหรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี หรือนำฝากธนาคารพาณิชย์ตามวงเงินที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ

 

 

 

 

 

 

 

เงินรายได้สถานศึกษาส่วนที่เกินวงเงินเก็บรักษา กรณีโรงเรียนให้นำเงินรายได้สถานศึกษาสวนที่เกิน ฝากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกเงิน ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาสวนที่เกิน ฝากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด หรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอแล้วแต่กรณี ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารถือเป็นเงินรายได้สถานศึกษา ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเดียวกันกับท้องที่ตั้งของโรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หากท้องที่นั้นไม่มีธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจให้บริการก็ให้นำฝากธนาคารพาณิชย์อื่นภายในท้องที่อำเภอเดียวกัน ได้ สำหรับประเภทเงินฝาก ให้อยู่ในดุลพินิจของโรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

 

ข้อ 20 วรรคสาม ...หากมีจำนวนเงินสดที่เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยตามวรรคหนึ่ง ให้นำฝากธนาคารทั้งจำนวนในวันทำการถัดไป กรณีเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีพื้นที่ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวกไม่สามารถนำฝากธนาคารได้เป็นประจำทุกวันให้เก็บรักษาเงินสดในตู้นิรภัยได้ และให้นำเงินสดดังกล่าวฝากธนาคารในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์

 

 

 

 

 

ข้อ ๑๐ ใหคณะกรรมการกองทุนหมูบาน รับสมัครสมาชิก และเปดบัญชีกองทุนหมูบาน

(บัญชีที่ ๑) ภายใตชื่อบัญชี “กองทุนหมูบ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองแล้วแตกรณี (ชื่อบ้านหรือชื่อชุมชน...........................หมูที่............ตําบล/แขวง........................อําเภอ/เขต............................จังหวัด.....................)” ไวกับธนาคาร เพื่อรับโอนเงินที่ไดรับจัดสรรจากคณะกรรมการ และเปดบัญชีเงินสะสม (บัญชีที่ ๒) เพื่อรองรับเงินฝากของสมาชิก

 

 

มาตรา 46 เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้

(5) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

(9) ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

 

 

 

 

 

มาตรา 39

"คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล " หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกัน อันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๔) พ.ศ. ๒๕๖๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 351)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 228)

 

- พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. กฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564

 

 

6. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549

 

7. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549

 

 

 

 

 

 

8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

9. ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑

 

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10. ประมวลรัษฎากร

 

- เรื่องการรับฝากเงินจากบุคคลภายนอก ตัวแทนคือ คกก. ผจก. จนท. กระทำนอกเหนืออำนาจของตัวการ คือสหกรณ์ ไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบัน 823 812

- แต่กรณีนี้ พรบ สหกรณ์ กำหนดชัดแจ้งว่า มีอำนาจรับฝากเงินจากสมาชิกหรือนิติบุคคล… 46 (5) ส่งผลให้ตัวการ คือสหกรณ์ ไม่อาจให้สัตยาบันได้อย่างแน่แท้ เพราะถึงแม้จะให้สัตยาบันก็ส่งผลให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ 150

- คู่กรณีกลับสู่ฐานะเดิม และนำเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5) ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องคำนิยามวงเงินการกู้ยืมหรือการค้ำประกันของสหกรณ์ ข้อ 3 กำหนดว่า จำนวนเงินที่รับฝากจากสหกรณ์อื่น ถือเป็นจำนวนเงินที่สหกรณ์ได้ก่อหนี้ภาระผูกพันแล้วซึ่งไม่นับรวมจำนวนเงินที่ชุมนุมสหกรณ์รับฝากจากสหกรณ์สมาชิก ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ไม่ได้กำหนดว่าเงินรับฝากจากสมาชิกถือเป็นจำนวนเงินที่สหกรณ์ได้ก่อหนี้ภาระผูกพันแล้ว

แม้ในทางบัญชีเงินรับฝากกสมาชิกจะถือเป็นหนี้สิน แต่ก็ถือเป็นทุนภายในที่มาจากสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าของสหกรณ์ การใช้ทุนภายในมาเป็นทุนดำเนินงานของสหกรณ์จึงเป็นไปตามอุดมการณ์สหกรณ์ที่ว่า การช่วยเหลือตนเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งความกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรม และเกิดสันติสุข แต่ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวต้องคำนึงถึงกฎหมาย ระเบียบ ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลสมาชิก ซึ่งรายละเอียดต่อไปนี้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจรับฝากเงินของสหกรณ์ 

ทำไมเราต้องเชื่อว่า “สหกรณ์เป็นวิสาหกิจไม่แสวงหากำไร”

นับจากวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1844 ที่ Rochdale Pioneers ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลกอย่างเป็นทางการ นับถึงปัจจุบันก็เป็นปีที่ 180 ...