วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

13 เรื่องสำคัญในวาระ “107 ปี การสหกรณ์ไทย”

 1. ทศวรรษการเปลี่ยนแปลงวิถีเศรษฐกิจจาก Self Sufficiency สู่ Marketing System

- การค้าสำเภา

- การค้ากับประเทศยุโรป

- Burney Treaty 2369

- Bowring Treaty 2398

- จุดเริ่มต้นการค้าเสรีของสยาม

2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของสยาม

- ข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ

- มูลค่าการส่งออกข้าว ประมาณ 71 ล้านบาท

- พื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3 แสนไร่

- การขุดคลอง และการจับจองที่ดิน

- 2413 - 2475 ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเกือบ 20 เท่า

3. ความทุกข์ยากของชาวนา

- การกู้ยืมเงินของชาวนาจำกคหบดีหรือพ่อค้าปล่อยเงินกู้ (อัตราดอกเบี้ยสูงมาก)

- ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ

          - 2453 น้ำป่าไหลท่วมที่นา

          - 2454 ฝนแล้ง

          - 2460-2462 ความผิดปกติของภูมิอากาศ การปลูกข้าวเสียหายหนัก

- 2473-2475 เศรษฐกิจโลกตกต่ำ ข้าวราคาตก

- รัฐบาลเกิดปัญหาการคลัง

- ปัญหาหนี้สินชาวนา

4. จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาชาวนา

- ธนาคารเกษตร

- 2457 Sir Bernard Hunter เสนอให้ บริษัทแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด เป็นธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ

- ให้ชาวนารวมตัวกันเป็นสมาคมเพื่อช่วยเหลือกันและกัน Co-operation

- 2457 เพิ่มแผนกสหกรณ์ในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์

- 2457 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ บัญญัติคำว่า "สหกรณ์"

5. จุดเริ่มต้นการสหกรณ์ไทย

- 2458 ที่ประชุมสมุหเทศาภิบาลประจำปี แถลงจะใช้วิธสหกรณ์ช่วยชาวนาแก้ปัญหาขาดแคลนทุน

- พ.ร.บ.สมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459

- กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์คนแรก

- 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 จัดตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้

          - สมาชิก 16 คน

          - ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท

                   - ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท

-        เงินกู้แบงค์สยามกัมมาจล 3,000 บาท (อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี)

-        ให้สมาชิกกู้ยืมไปใช้หนี้และลงทุนทำนาอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี

6. ปลดแอกดอกเบี้ยแพง

- 2468 บทสะท้อน-สมาชิกกู้เงินสหกรณ์

- ซื้อที่นา

- ซื้อสัตว์พาหนะ

- ซื้อเครื่องมือทำนา

- ซื้อข้าวสำหรับบริโภคและเพราะปลูก

- สมาชิกส่วนใหญ่นำเงินไปชำระหนี้เก่าร้อยละ 53.56

7. รากฐานงานด้านสหกรณ์ สมัย ร.7

- พ.ร.บ. สหกรณ์ 2471 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเพาะปลูกและจำพวกอื่น ๆ ที่มีกำลังทรัพย์น้อยแต่มีความต้องการ อย่างเดียวกัน หมู่ชนนั้น ๆ ควรได้รับอุดหนุนให้ตั้งสหกรณ์

- 2472 สหกรณ์ 128 แห่ง สมาชิก 2,157 คน ปริมาณธุรกิจเงินกู้ 511,365.78 บาท

- ทุนดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล 500,000.00 บาท และทุนเดิม 1,000,000.00 บาท

8. การจัดตั้งสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ

- 2459 สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้

- 2478 สหกรณ์เช่าซื้อที่ดินลำลูกกา จำกัด

- 2480 ร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้

- 2484 สหกรณ์ผู้ทำร่มบ่อสร้าง จำกัดสินใช้

- 2492 สหกรณ์ประมงพิษณุ จำกัด

- 2492 สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้

- 2495 สหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้

          - ต้นกำเนิดชุมนุมสหกรร์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

          - ต้นกำเนิดชุมนุมสหกรณ์ร้านค้าแห่งประเทศไทย จำกัด

- 2508 เครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา (ไม่ได้จดทะเบียน)

- 2522 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด

9. การควบรวมสหกรณ์หาทุน

- พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2511

- สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

- สหกรณ์หาทุน สู่สหกรณ์การเกษตร

- กฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516

          - สหกรณ์ 6 ประเภท (เกษตร นิคม ประมง ออมทรัพย์ ร้านค้า และบริการ)

10. ประกาศวันสหกรณ์แห่งชาติ

- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2527 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ

- รำลึกถึงพระกรุณาธิคุณขององค์ผู้ให้กำเนิด "สหกรณ์"

- แซ่ซ้องสรรเสริญพระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย พระราชวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

11. ยุคแห่งการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 85 รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ (9) ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เป็นอิสระและการรวมกลุ่มการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ ตลอดทั้งการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อดำเนินกิจการด้านเศรษฐกิจ

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 75 วรรคสาม รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน

- พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบสหกรณ์มีความเข้มแข็งและสามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง โดยสมาชิกตามวิถีทางประชาธิปไตย อันเป็นการวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของประชาชน

          - ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553

          - ฉบับที่ 3. พ.ศ. 2562

                   - มาตรา 89/2 การกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

12. 100 ปี การสหกรณ์ไทย

- คำขวัญ "100 ปี สหกรณ์ไทย พัฒนา เศรษฐกิจก้าวไกล สร้างสังคมไทยมั่นคง"

- 30 กรกฎาคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการประกาศให้สหกรณ์เป็นวาระ แห่งชาติ

- 22 ตุลาคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์และแนวทางในการดำเนิน งานตามข้อเสนอวาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์

- ยุทธศาสตร์วาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์

          - ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนาการเรียนรู้และทักษะการสหกรณ์ สู่วิถีชีวิตประชาชนในชาติ

          - ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุนและพัฒนาการรวมกลุ่มของประชาชน ด้วยวิธีการสหกรณ์ให้เป็นฐานรากสำคัญใน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

          - ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบ การผลิตการตลาดและการเงินของสหกรณ์

          - ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนแผน พัฒนาการสหกรณ์ให้เป็นเครื่องมือ ในการสร้างความเข้มแข็งของขบวนการสหกรณ์

          - ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐขบวนการ สหกรณ์และปรับปรุงกฎหมายสหกรณ์ให้เอื้อต่อการพัฒนา

13. 107 ปี การสหกรณ์ไทย

- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)

          - ตัวชี้วัดที่ 3.1 จำนวนสหกรณ์ภาคเกษตรในชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งสหกรณ์เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 18 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

          - ตัวชี้วัดที่ 3.2 จำนวนกลุ่มเกษตรกรในชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 6 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13

- แผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570)

          สหกรณ์เข้มแข็งและเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

          - ยุทธศาสตร์การพัฒนาสหกรณ์

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการในสหกรณ์สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการขับเคลื่อนองค์กรและดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับศักยภาพและสมรรถนะการดำเนินธุรกิจ ตามลักษณะธุรกิจและประเภทของสหกรณ์

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างการเชื่อมโยงและร่วมมือกันทางธุรกิจและสังคม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์

                   - ยุทธศาสตร์ที่ 6 การปรับโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ขบวนการสหกรณ์และภาครัฐ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

- สหกรณ์ 7,622 แห่ง กลุ่มเกษตรกร 4,308 แห่ง

- สมาชิกสหกรณ์ 11,363,895 คน สมาชิกกลุ่มเกษตรกร 393,080 คน

- ปริมาณธุรกิจสหกรณ์ 2,267,015.70 ล้านบาท ปริมาณธุรกิจกลุ่มเกษตรกร 7,024.35 ล้านบาท

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 1. กรณีปัญหา

1.1 กรณีลูกจ้างเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ นายจ้างต้องทำหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าลูกจ้างที่เกษียณอายุ หรือไม่ อย่างไร

1.2 นายจ้างต้องทำหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าลูกจ้าง กรณีลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน หรือไม่ อย่างไร

2. ข้อกฎหมาย

2.1 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 17 วรรคสอง ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย

มาตรา 17/1 ในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบตามมาตรา 17 วรรคสอง ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับนับแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผลตามมาตรา 17 วรรคสอง โดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน

มาตรา 118 วรรคสอง การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป

มาตรา 118/1 วรรคหนึ่ง การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้หถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง

2.2 ระเบียบสหกรณ์ ว่าด้วยข้อบังคับการทำงาน

การเลิกจ้าง การเลิกจ้าง หมายถึง เจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่ได้ให้พ้นสภาพการเป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ โดยสหกรณ์เลิกจ้าง หรือไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานอันเนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดคุณสมบัติในการทำงาน มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ยุบหน่วยงาน เลิกกิจการ เกษียณอายุ หรือกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือได้รับโทษทางวินัย และเหตุตามระเบียบ ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสหกรณ์ 

ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะ ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ให้ครอบคลุมการปฏิบัติงานทุกสี่ปี

การเลิกจ้างดังกล่าว สหกรณ์จะแจ้งผล และวันเลิกจ้างให้เจ้าหน้าที่ทราบเป็นหนังสือ โดยจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้าหนึ่งงวดการจ่ายค่าจ้าง เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่จ้างไว้โดยมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน หรือเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิด และไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย 

ในกรณีที่สหกรณ์ไม่อาจบอกกล่าวล่วงหน้าได้ สหกรณ์จะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหน้าที่แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

การสิ้นสุดการจ้างตามสัญญาจ้าง หากสหกรณ์กำหนดเงื่อนไขระยะเวลาการจ้างในสัญญาจ้างไว้เป็นรายบุคคลอย่างไร ก็ให้ระยะเวลาการจ้างสิ้นสุดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเป็นรายบุคคลนั้น 

3. ข้อวินิจฉัย

3.1 หากลูกจ้างเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ นายจ้างต้องทำหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าลูกจ้างที่เกษียณอายุ

3.2 นายจ้างต้องทำหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าลูกจ้าง กรณีลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน

สหกรณ์ไม่จำกัดสินใช้ สหกรณ์จำกัดสินใช้ และสหกรณ์จำกัด กับหุ้น มูลค่าหุ้น การรับใช้หนี้สินของสหกรณ์ของสมาชิกสหกรณ์ และการจ่ายคืนมูลค่าหุ้น

 ข้อกฎหมาย

1. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471

มาตรา 4

(6) จำกัดสินใช้ ให้หมายความว่า สมาชิกแห่งสหกรณ์อันได้จดทะเบียนแล้วนั้น ต้องรับใช้หนี้สิ้นของสหกรณ์จำกัด เพียงไม่เกินราคาหุ้นของตนที่ยังส่งไม่ครบ

(7) ไม่จำกัดสินใช้ให้หมายความว่า สมาชิกแห่งสหกรณ์อันได้จดทะเบียนแล้วนั้นทุกคนต้องรับใช้หนี้สินของสหกรณ์รวมกันและแทนกันไม่มีจำกัด

2. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511

มาตรา 7

(1) สหกรณ์จำกัด คือสหกรณ์ซึ่งสมาชิกมีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

(2) สหกรณ์ไม่จำกัด คือสหกรณ์ซึ่งสมาชิกทุกคนมีความรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของสหกรณ์โดยไม่จำกัด

3. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 33 สหกรณ์จะตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดา สมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และต้อง

(3) มีทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน และสมาชิกแต่ละคนจะต้องถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น แต่ไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด

มาตรา 42 ในการชำระค่าหุ้น สมาชิกจะนำค่าหุ้นหักกลบลบหนี้กับสหกรณ์ไม่ได้และสมาชิกมีความรับผิดเพียง ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

ในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องหรืออายัดค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้น และ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง สหกรณ์มีสิทธิ์นำเงินตามมูลค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่มาหักกลบลบหนี้ที่สมาชิก ผูกพันต้องชำระหนี้แก่สหกรณ์ได้ และให้สหกรณ์มีสถานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินค่าหุ้นนั้น

มาตรา 43 ข้อบังคับของสหกรณ์อย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้

(5) ทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้น มูลค่าของหุ้น การชำระค่าหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินอื่น การขาย และการโอนหุ้น ตลอดจนการจ่ายคืนค่าหุ้น

4. คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ที่ 278/2549 เรื่อง ให้สหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์กำหนดเรื่อง การจ่ายคืนค่าหุ้นในกรณีที่ขาดทุนเกินทุนสำรองที่มีอยู่ไว้ในข้อบังคับ

5. คำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจ่ายคืนค่าหุ้น กรณีสหกรณ์/ชุมนุมสหกรณ์ขาดทุนสะสม พ.ศ. 2549

สภาพคล่องของธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย

หลักการของสหกรณ์ Rochdale ในยุคแรกเริ่ม กำหนดเรื่องการค้าด้วยเงินสด (Cash trading) แสดงว่าสมัยนั้นไม่มีลูกหนี้การค้า จ่ายสด งดเชื่อ เบื่อทวงแล้วระหว่าง การค้าด้วยเงินสด กับการขายเชื่อ มันมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร 

ประสิทธิภาพของธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย เราวัดกันด้วยสภาพคล่อง (Liquidity) ซึ่งดูได้จากอัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ และอายุเฉลี่ยของสินค้า 

อัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover) (ครั้ง) มาจากต้นทุนสินค้าขายหารด้วยสินค้าคงเหลือถั่วเฉลี่ย จำนวนครั้งยิ่งมากยิ่งดี เพราะแสดงให้เห็นว่าธุรกิจมีความสามารถในการขายสินค้าคงเหลือสูง ช่วยรักษาสภาพคล่องให้กับธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการเน่าเสีย ความเสียหาย การโจรกรรม หรือความล้าสมัยทางเทคโนโลยีของสินค้า 

อายุเฉลี่ยของสินค้า (Day in Inventory) (วัน) มาจาก 365 วันหารด้วยอัตราการหมุนของสินค้าคงเหลือ แสดงความสามารถในการขาย ยิ่งขายได้เร็ว ระยะเวลาสั้น ยิ่งดี 

การค้าด้วยเงินสดนั้นดีแท้แน่นอน ตามที่อธิบายแล้ว แต่การขายเชื่อก็อาจจะจำเป็น เนื่องจากในยุคที่การค้าขายเป็นพระเอกของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน การแข่งขันมีสูง การให้สินเชื่อหรือการขายเชื่อ เป็นกลยุทธในการแข่งขัน หรือมองอีกด้านหนึ่งอาจเป็นการช่วยเหลือกัน หรืออีกด้านหนึ่งหวังกำไร 2 เด้ง เพราะขายเชื่อบวกดอกเบี้ยไปในตัว แต่การขายเชื่อก็ต้องระมัดระวัง ถ้ามีทุนน้อย ถ้าลูกหนี้การค้าผิดนัด จะมีค่าใช้จ่ายค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามเกณฑ์ต่อไปนี้ 

ลูกหนี้การค้าค้างชำระ เกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน ประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ร้อยละ 10 

ลูกหนี้การค้าค้างชำระ เกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ร้อยละ 20 

ลูกหนี้การค้าค้างชำระ ค้างชำระเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ร้อยละ 50 

ลูกหนี้การค้าค้างชำระ ค้างชำระเกินกว่า 2 ปี ประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ร้อยละ 100

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...