วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

 

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เป็นกระบวนการตรวจสอบ ค้นหาความจริง อย่างมีส่วนร่วม อย่างเป็นระบบ และอย่างระมัดระวัง โดยใช้ระเบียบวิธีทางการวิจัย หลักสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ คือ การใช้ความคิดริเริ่มของสมาชิกองค์การที่เอาการเอางานเพื่อจูงใจให้ทีมนักวิจัยได้วิจัยแนวคิดใหม่ๆ และทักษะการแก้ปัญหา โดยมีพื้นฐานอยู่ที่การปฏิบัติงานร่วมกันและพยายามทำให้กระบวนการวิจัยมีผลในทางปฏิบัติ (วิทยากร เชียงกูล, 2550: 7)

 

การวิจัยปฏิบัติการ (action research) หมายถึงกระบวนการที่ผู้ประกอบวิชาชีพดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานของตน เพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงานของตนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดีมากขึ้นกว่าเดิม คำว่า การวิจัยนี้ หมายถึงวิธีการศึกษาที่มีระเบียบวิธีการเฉพาะ ประกอบด้วย การกำหนดปัญหาในการปฏิบัติงาน การแสวงหาลู่ทางการแก้ปัญหา การใช้วิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา การบันทึกรายละเอียดผลการปฏิบัติการ การสรุปและการเสนอผลการแก้ปัญหา ในขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยนี้นักวิจัยต้องมีการปฏิบัติการใช้วิธีการต่าง ๆ ที่คาดว่าจะแก้ปัญหาได้ และเมื่อพบว่าวิธีการนั้น ๆ แก้ปัญหาได้จริง ก็ต้องมีการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานเดิมตามวิธีการใหม่ อันจะส่งผลให้การดำเนินงานมีคุณภาพ และประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น การวิจัยปฏิบัติการจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพงาน และผู้ปฏิบัติต้องทำการวิจัยปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเพื่อพัฒนางานของตน (นงลักษณ์  วิรัชชัย, ออนไลน์, 2548)

 

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

 

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับมนุษย์ ซึ่งได้แก่บริบททางด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และจริยธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์มีศักยภาพในการดำเนินวิถีชีวิตไปตามสภาพแวดล้อมและสังคมอย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีการต่างๆที่เหมาะสมกับความเชื่อ ทัศนคติ วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใน ภูมิ-สังคมต่างๆ เช่น การเรียนทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา การฝึกอบรม การทดลองเป็นต้น ที่ผ่านมามนุษย์ได้ใช้วิธีการต่างๆเพื่อการพัฒนาตนเองและผู้คนในสังคม ซึ่งรวมถึงสังคมโลกด้วย แต่การพัฒนาที่ผ่านมาผู้คนได้ยึดแนวทางการพัฒนาที่เป็นกระแสหลักมากเกินไป โดยทำตามๆกันไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้แนวคิดการพัฒนาที่ไม่ใช่กระแสหลักถูกเบียดขับ กลายเป็นแนวทางชายขอบ ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมส่วนใหญ่ และไม่ให้คุณค่า ทำให้แนวทางการพัฒนาชายขอบขาดการพัฒนาต่อยอดและเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตกับผู้คนในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้คนในสังคมได้รับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะความไม่เท่าเทียมด้านการให้คุณค่าของผู้คนในสังคม เช่น องค์ความรู้ท้องท้องถิ่นต่างๆ ที่แม้จะมีประโยชน์ มีคุณค่า แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากทั้งผู้คนในสังคมและผู้คนในท้องถิ่นเอง ขณะที่เครื่องมือการพัฒนาในแนวทางหลักยังไม่สามารถตอบสนองต่อผู้คนได้อย่างทั่วถึงครอบคลุม เกิดภาวะที่เรียกว่าชุมชนอ่อนแอ ชุมชนล่มสลาย เพราะสมาชิกในชุมชนที่เข้าไม่ถึงเครื่องมือการพัฒนากระแสหลักได้ละทิ้งแนวทางพื้นฐานของตนเอง เพื่อแสดงหาการพัฒนากระแสหลักที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับ

            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชนเพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนจึงควรเป็นการพัฒนาที่สมดุล ให้คุณค่ากับแนวทางการพัฒนาทุกรูปแบบที่มีประโยชน์ โดยยึดความต้องการของหน่วยย่อยต่างๆในสังคมเป็นพื้นฐาน แนวทางหลักในการพัฒนาสังคมโดยรวมต้องบูรณาการความหลากหลายต่างๆมีอยู่ ให้สามารถตอบสนองมนุษย์และชุมชนที่หลากหลายในสังคมได้อย่างเท่าเทียม ผู้มีหน้าที่บริหารสังคมต้องกล้าชี้ให้เห็นว่าแนวทางใดที่เป็นการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม และต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เลือกใช้แนวทางการพัฒนาที่เชื่อว่าจะสามารถตอบสนองต่อผู้คนทุกๆคน ทุกๆกลุ่มในสังคมได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ยึดถือแนวทางการพัฒนากระแสหลักแต่เพียงอย่างเดียว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภาพที่ 1. แสดงกรอบแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

Text Box: การมีส่วนร่วมทางการเมืองText Box: นโยบายของรัฐText Box: กำหนดText Box: กำหนด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ปรับจากทฤษฎีวัตถุนิยมแบบประวัติศาสตร์ ของ คาร์ล มาร์ก (Karl Mark, 1818-1883) (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, 2546: 153)

 

การวิจัยเชิงปฏิบัติการกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

 

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชนมีความเป็นพลวัตร วิถีชีวิตและความคิดของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการเรื่อยมา โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่กระแสโลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสับสน ไร้ระเบียบ ส่งผลให้ผู้คนที่ขาดภูมิคุ้มกันตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผู้ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองตามกระแสของสังคมได้ก็จะกลายเป็นคนชายขอบของการพัฒนาในสายตาของผู้ที่สามารถก้าวทันกระแสโลกาภิวัตน์ กระบวนการกลายเป็นชายของของผู้คนที่ไม่สามารถปรับตัวให้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้พวกเขาต้องสูญเสียความมั่นใจในหลักยึดของตนเอง อันได้แก่ค่านิยมและวัฒนธรรมชุมชนที่ยึดถือปฏิบัติกันมา เช่น วิถีชีวิติความเป็นอยู่แบบพอเพียงในอดีตถูกมองว่าล้าหลังไม่สามารถแข่งขันได้ หากไม่สามารถเรียนรู้และรับเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่วิถีการผลิตแบบดั้งเดิม

การแก้ปัญหาลดความเหลื่อมล้ำของผู้คนในสังคมที่ผ่านมา นโยบายและมาตรการส่วนนใหญ่มักถูกกำหนดมาจากโครงสร้างส่วนบน อันได้แก่รัฐบาล และกลุ่มการเมืองที่มีอำนาจในการบริหารประเทศและระดับท้องถิ่น แนวทางการพัฒนาดังกล่าวมักถูกวิพากษ์จากนักพัฒนากระแสทางเลือกว่า เป็นการพัฒนาที่เป็นแนวดิ่งจากบนลงล่าง ชาวบ้าน ชุมชน เป็นแค่ผู้รับการพัฒนา แต่ไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาชีวิตและชุมชนของตนเอง การพัฒนาที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชนจึงไม่ระสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะในด้านความเท่าเทียมของผู้คน ยิ่งพัฒนาความเหลื่อมล้ำแตกต่างของผู้คนก็ยิ่งมีมากขึ้น จนมีผู้เสนอแนวคิดในการพัฒนาใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนาโดยเอาคนและชุมชนเป็นศูนย์กลาง กระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเป็นการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของผู้คนในภาคส่วนต่างๆที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนา

การวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นวิธีการศึกษาเพื่อวางแผนการพัฒนาวิธีหนึ่งที่มีแนวทางที่ชัดเจนและตอบสนองต่อข้อเสนอเรื่องการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่าง ชุมชน นักพัฒนา ตลอดจนนักวิจัย เพื่อวางแผน พัฒนา แก้ปัญหา โดยชุมชนเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของหมู่คณะ คือระหว่างชาวบ้านกับผู้วิจัย โดยจะเริ่มตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับผลที่เกิดจากการดำเนินงานและสรุปบทเรียนตลอดจน ร่วมหาวิธีแก้ไขปัญหา และร่วมพัฒนาต่อไป โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม จะเน้นการยอมรับ หรือความเห็นพ้องจากชาวบ้านเป็นสำคัญ

จุดเด่นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเฉพาะการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม อันได้แก่ การ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล ร่วมรับผลที่เกิดจากการดำเนินงาน การสรุปบทเรียน ตลอดจนร่วมหาวิธีแก้ไขปัญหา และร่วมพัฒนา จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะสามารถช่วยให้ผู้คนที่ถูกผลักดันให้หลายเป็นชายขอบสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนของตนเองได้ ซึ่งภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะเป็นดั่งเครื่องป้องกันคลื่นแห่งกระแสโลกาภิวัตน์ ช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่บนพื้นฐานตามบริบทของตนเองอย่างเหมาะสมได้อย่างยั่งยืนต่อไป 

เอกสารอ้างอิง 

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.  2546.  ลัทธิเศรษฐกิจการเมืองกรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์  วิรัชชัย.  2548.  การสังเคราะห์งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (ออนไลน์).  www.ksp.or.th/upload/301/files/280-9056.doc, 17 มิถุนายน 2552.

วิทยากร เชียงกูล.  2550.  อธิบายศัพท์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา.  กรุงเทพมหานครฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของประเทศไทย และผลของการรับปรัชญาการศึกษาของโลกตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทย

การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้เพราะการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ โดยที่สามารถจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย ใช้การศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และการให้การศึกษาจะเป็นหนทางที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ของสังคมและประเทศอย่างได้ผล การศึกษาจะช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศ ดังนั้นเป้าหมายของทุก ๆ ประเทศจึงมุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้กระบวนการทางการศึกษาเป็นสำคัญ การลงทุนทางการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลในทุก ๆ ประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก (ภัทรธิรา ผลงาม, 2548: 20) ในประเทศไทยเองก็มีวิวัฒนาการทางด้านการศึกษามาอย่างยาวนาน ซึ่งการพัฒนาทางด้านการศึกษาของไทยที่ผ่านมาก่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศในหลายๆด้านรวมทั้งการที่ประเทศไทยพัฒนาประเทศมาถึงทุกวันนี้ได้ ก็ด้วยมีพื้นฐานทางการพัฒนาด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไปของการจัดการศึกษาในประเทศไทยจึงมีความสำคัญ เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งมวล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

แนวคิดพื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา

 

วิวัฒนาการและปรัชญาการศึกษาของตะวันตก

วิวัฒนาการการศึกษาของประเทศต่างๆทวีปยุโรปมีพัฒนาการและพื้นฐานร่วมกันซึ่งล้วนมีจุดกำเนิดมาจากอารยธรรมสมัยโบราณคืออารยธรรมกรีก-โรมันและคริสตศาสนาวิทยาการของกรีก-โรมัน (ประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล..476) จัดว่าเป็นพื้นฐานทางวิชาการที่สร้างความเจริญทางด้านวัตถุให้กับยุโรป ในสมัยกรีก-โรมันนี้มีบันทึกว่าอาณาจักรส่งเสริมทั้งเรื่องการศึกษาทางวิชาการและวิชาพลศึกษา รวมทั้งมีการจัดการศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาแล้ว

ระยะเวลาหลังจากที่อาณาจักรโรมันล่มสลาย นักประวัติศาสตร์ต่างเรียกยุคดังกล่าวว่ายุคมืด (..476 – คริสตศตวรรษที่ 11) เนื่องจากเป็นช่วงที่อานารยชนเข้าปกครองดินแดนส่วนใหญ่ในยุโรป เป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความวุ่นวายแก่งแย่ง จนกระทั่งเข้าสู่ยุคกลาง (คริสตศตวรรษที่ 11 – คริสตศตวรรษที่ 14) ที่ดินแดนต่างๆในทวีปยุโรปรวมตัวกันอย่างหลวมๆในรูปแบบของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตลอดระยะเวลาประมาณ 1,000 ปีของยุคมืดและยุคกลางเกิดความเคลื่อนไหวทางอารยธรรมอย่างช้าๆ ในช่วงเวลาของยุคมืดและยุคกลางนี้ความแข็งแกร่งของสถาบันคริสตศาสนาพัฒนาไปจนถึงจุดสูงสุด ศาสนามีอำนาจเหนือทุกสถาบันในยุโรป การศึกษาตั้งแต่ช่วงเวลานี้ไปจนถึงช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 อยู่ในความควบคุมของศาสนจักร โรงเรียนที่เกิดขึ้นในยุคมืดล้วนแต่เป็นโรงเรียนที่มุ่งให้ความรู้แก่พระเพื่อจะออกไปปกครองประชาชนทั้งด้านกายภาพและความคิด สำหรับพวกชนชั้นสูงในแต่ละประเทศต่างตั้งโรงเรียนขึ้นในวังหรือบ้านของตนแล้วเชิญนักบวชมาให้การศึกษาแก่บุตรหลาน ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อความคิดและขนบประเพณีของชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลต่อสังคมในประเทศต่างๆของยุโรปเป็นระยะเวลายาวนาน (วรัฏรยา หุ่นเจริญ, 2545: 7)

สมมติฐานเรื่องการตั้งโรงเรียนในยุโรปแต่เดิมน่าจะเรียนกันในวัด (โบสถ์) จวบจนเมื่อมีการตั้งโรงเรียนฆารวาสในช่วง Renaissance ที่นำหลักสูตร Humanism เข้ามาใช้จึงน่าจะเรียนตามบ้านอาจารย์ผู้สอน อาคารเรียนน่าจะได้รับการก่อสร้างในช่วง Enlightenment ที่มีการตั้งโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้สอนเฉพาะวิชาศาสนาและเป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องการจัดการศึกษาของยุโรปนั้นดำเนินไปอย่างมีพัฒนาการ ขั้นตอนแห่งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการจัดการศึกษา หลักสูตร และแนวความคิดนั้นเกิดมาจากอิทธิพลของนักปราญช์ซึ่งล้วนมาจากสามัญชนที่ได้รับการศึกษาแสดงความคิดผ่านงานเขียนที่ได้รับการเผยแพร่จนสามารถผลักดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงและเข้ามาดูแลเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อยังประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น (วรัฏรยา หุ่นเจริญ, 2545: 9)

 

ปรัชญาการศึกษาตะวันตกที่สำคัญ

ปรัชญาการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาไทย มี 6 ลัทธิ ได้แก่ ลัทธิจิตนิยม นิรันตรนิยม (Perennialism) สารัตถนิยม (Essentialism) พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) บูรณาการนิยมหรือปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) และอัตภาวะนิยม (Existentialism) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

 

1) ลัทธิปรัชญาจิตนิยม (Idealism)

            เป็นลัทธิปรัชญาที่เก่าแก่ที่สุด มีความเชื่อในเรื่องของจิต ในชีวิตของคน จิตมีความสำคัญมากที่สุด สิ่งที่ปรากฏให้เห็นเป็นวัตถุนั้นไม่ใช่ความจริงแท้ ความจริง คือ ภาพพจน์ทางใจ ซึ่งแสดงออกได้ทางความคิด ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของแนวความคิดตามลัทธิปรัชญานี้คือ พลาโต (Plato) นักปรัชญาเมธีชาวกรีก พลาโตเชื่อว่า การศึกษา คือ การให้ความเจริญเติบโต เป็นการอบรมจิตใจให้มีระเบียบวินัย และให้รู้จักใช้ความคิดอย่างมีระบบระเบียบ ความเชื่อของพลาโตจึงให้ความสำคัญต่อจิตใจมากกว่าอย่างอื่น

ปรัชญาจิตนิยมเชื่อว่า การศึกษา คือ การพัฒนาจิตใจ ส่งเสริมการพัฒนาทางคุณธรรม ศีลธรรม ศิลปะ การวินิจฉัยคุณค่าที่แท้จริงของคุณธรรมและจริยธรรม ในการจัดการศึกษาจึงเน้นการผลิตคนให้เป็นนักอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์โดยมีความคิดว่านักอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์จะเป็นผู้มีความรอบรู้ และเข้าใจชีวิตคนดีที่สุด ส่วนกระบวนการเรยนการสอนส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนในห้องเรียนและห้องสมุด โดยเน้นความสำคัญของการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา(วิไล      ตั้งจิตสมคิด, 2539)

 

2) นิรันตรนิยม (Perennialism) ปรัชญาการศึกษานี้พัฒนาการมาจากลัทธิ ปรัชญา Realism และ Neothomism คำว่า Perennialism แปลตามรูปศัพท์มีความหมายว่า การคงอยู่ชั่ว นิรันดร์ (Everlasting) นักปรัชญาที่บุกเบิก คือ โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทชินส์ (.. 1899 – .. 1979) เป็นคนสำคัญของปรัชญานี้และเป็นผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการอุดมศึกษา เขากล่าวว่า ความสับสนที่เกิดขึ้นในระดับอุดมศึกษาในช่วงแรก ๆ ของศตวรรษที่ 20 มีสาเหตุมาจากเงื่อนไขเบื้องต้นที่สำคัญในสังคม 3 ประการ คือ 1) เกิดจากการเห็นแก่เงิน 2) เกิดจากความไม่เข้าใจในหลักประชาธิปไตยอย่างถ่องแท้ และ 3) ความคิดเห็นที่ผิดต่อการพัฒนา

 

หลักการที่สำคัญของปรัชญานิรันตรนิยม

2.1) เป็นปรัชญาการศึกษาที่ยึดมั่นว่า วัฒนธรรมใดในอดีตนั้นดีงาม ควรที่ทุกคนจะได้เรียนรู้ การศึกษาจึงควรดำเนินตามหนทางอันย้อนกลับไปสู่วัฒนธรรมอันดีงามในอดีต (regressive road to culture) ทุกคนควรได้ศึกษาผลงานอันเป็นอมตะทางด้านวรรณคดี ปรัชญาประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาการศึกษากลุ่มนี้จึงได้คัดเลือกผลงานที่ดีประมวลขึ้นมาเป็นชุดที่เรียกว่า Great book เพื่อใช้ศึกษาและค้นคว้าต่อไป นั่นคือ มุ่งให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นความจริงในอดีต (the lasting truth)

2.2) การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความมีเหตุผล เพื่อให้คนมีเหตุผลใช้ความมี เหตุผลอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข จุดมุ่งหมายสำคัญของการศึกษาจึงควรเน้นการพัฒนาความมีเหตุผลและจะต้องรู้จักวิธีการแห่งปัญญา (Method of intelligence)

2.3) ให้ความสำคัญต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน (basic education) คือ อ่าน เขียน เรียนเลข นั่นก็คือ Three R’s นั่นเอง

2.4) การศึกษามิใช่การเลียนแบบชีวิต แต่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต (education is not imitation for life paring for life)

2.5) โรงเรียนจะมีบทบาทในการเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับอนาคตเพราะถือว่า โรงเรียนคือแหล่งของความรู้ และความจริง

2.6) การศึกษาจะต้องหาทางให้คนปรับตัวเข้ากับความจริง การปรับตัวเข้ากับความจริงจึงเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของการเรียนการสอน

2.7) ครูจะเป็นศูนย์รวมความคิด ความมีวินัย ครูจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดที่ผู้เรียนจะต้องใช้ความเคารพเชื่อฟัง

2.8) หลักสูตรมุ่งเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ (Subject centered) การเรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ คือการศึกษาใน Great Book กระบวนการศึกษา คือ ต้องอ่านและวิพากษ์วิจารณ์หนังสือเล่มใหญ่นี้

 

3) สารัตถนิยม (Essentialism) ปรัชญาการศึกษาที่ยึดแนวผสมของปรัชญากลุ่ม Idealism และ Realism คำว่า Essentialism มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า “Essentia” ซึ่งหมายถึง สาระหรือแก่นสารที่จำเป็นหรือสารัตถะ (essence) ดังนั้นปรัชญญานี้จึงเน้นในเรื่องที่น่าเชื่อถือและเป็นสาระที่สำคัญทั้งหลาย นักปรัชญาที่บุกเบิก ได้รับการยอมรับ คือ ศาสตราจารย์ วิลเลียม ซี แบกเลย์ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน

 

หลักการที่สำคัญของปรัชญาสารัตถนิยม

3.1) เพื่อถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (to pass on the cultural an historical heritage) ซึ่งถือว่า เป็นความรู้ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมและเห็นว่ามีค่าที่สุด ให้แก่ บรรพบุรุษชนรุ่นหลัง

3.2) ผลการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีความพยายามและมีวินัย และการที่ ผู้เรียนจดจำเนื้อหาวิชาได้ทั้งหมด คือ หัวใจของการศึกษา ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่จดจำไว้ไป แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ได้ต่อไปในชีวิตประจำวัน

3.3) ลักษณะของห้องเรียนจะเหมือนห้องปาฐกถาโต๊ะเก้าอี้เคลื่อนย้ายไม่ได้นักเรียนต้องตั้งใจฟังครู ซึ่งจะบอกเนื้อหาให้ ซึ่งการสอนของครูส่วนใหญ่จะใช้วิธีบรรยาย

3.4) เน้นเนื้อหาวิชาการ (subject-centered) ในระดับประถม เน้นให้ผู้เรียนมี ทักษะเบื้องต้น การอ่าน เขียน และเลขคณิตซึ่งเรียกว่า Three R’s (Reading, writing, arithmetic) ในระดับมัธยมมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะเพิ่มเติมขึ้นในอีก โดยให้เรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี เนื้อหาวิชาที่จะให้เรียนจะเป็นพื้นฐานสำคัญทางการศึกษาโดยทั่วไป ที่มีความจำเป็นสำหรับชีวิตมีความหมายต่อไปในอนาคต

3.5) บทบาทของโรงเรียน จะเป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ให้แก่ชุมชนรุ่นใหม่ โรงเรียนจะเป็นสถานที่ที่นักเรียนจะเรียนให้ได้ความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

3.6) ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้และเป็นตัวแบบที่มีค่าที่สุดของการเลียนแบบ (as a model worthy of imitation) ครูจะได้รับการยอมรับนับถือในด้านความรู้และจะมีอิทธิพลต่อผู้เรียนมากที่สุด

 

4) พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่มาจากลัทธิปรัชญา Pragmatism นักปรัชญาที่บุกเบิก การศึกษานี้ได้แก่ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) วิลเลี่ยม เจมส์ (William James) และชาร์ลส์ เพิร์ซ (Charles S. Peirce)

หลักการสำคัญของปรัชญาพิพัฒนาการ

4.1) การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต (education should be life itself, not a preparation for living)

4.2) การเรียนรู้นั้นต้องสัมพันธ์โดยตรงกับความสนใจของเด็ก (directly related to the interests of the child)

4.3) โรงเรียนจะต้องส่งเสริมให้มีการร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน (to encourage cooperation rather than competition)

4.4) โรงเรียนจะต้องเป็นห้องปฏิบัติการที่เรียนรู้ชีวิตจริง และจะต้องเป็นต้นแบบของประชาธิปไตย (a living learning laboratory, a working model of democracy)

4.5) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหา (learning through problem solving)

4.6) บทบาทของครู ต้องไม่ใช่ผู้นำตลอดไป แต่ต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำ (not to direct but advise)

4.7) ประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทั้งในด้านความคิดและ บุคลิกภาพที่ดีในสังคมที่พัฒนา (only democracy permits the free ideas and personalities)

 

5) บูรณาการนิยมหรือปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) นักปรัชญาการศึกษา Reconstructionism แตกสาขามาจากปรัชญาการศึกษา Progressivism เพียงแต่มองสังคมกว้างกว่าลึกกว่า นักปรัชญาสาขา Reconstructionism เห็นว่าปรัชญา Progressivism เพียงแต่เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมเท่านั้น ไม่เจาะลึกไปถึงการแก้ปัญหาของสังคม ยอร์ซ เอส เค้าทส์ และ  ธีโอดอร์ บราเมลต์ (Theodore Brameld) เป็นผู้นำคนสำคัญของปรัชญาการศึกษานี้

หลักการที่สำคัญของปรัชญาบูรณาการนิยมหรือปฏิรูปนิยม

5.1) หลักสูตรของปรัชญาการศึกษานี้มุ่งเรื่องสังคม การเมือง และปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้ามนุษยชาติ

5.2) โรงเรียนจะต้องมีบทบาทเสมือนเป็นวิศวกรสังคม” (Social Engineers) ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ให้พัฒนากลายเป็นสังคมใหม่ที่ต้องการ

5.3) ส่งเสริมให้โรงเรียนมีบทบาทในการสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้จักปฏิรูปสังคม

5.4) แนวคิดตามปรัชญาการศึกษานี้ได้แก่ โรงเรียนชุมชน (Community School)

 

6) อัตภาวะนิยม (Existentialism) เป็นปรัชญาการศึกษาที่เน้นให้ความเป็นตัวของตัวเองของผู้เรียนรู้จักเลือกและรับผิดชอบทางเลือกตัวเอง (responsible for his own fate) ผู้มีอิทธิพลในปรัชญาการศึกษานี้คือ เอ เอส นีล (A.S. Neil) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.. 1883 – .. 1973 นักปรัชญาที่บุกเบิกมีความสำคัญต่อปรัชญาการศึกษานี้คือ นีล 

หลักการสำคัญของอัตภาวะนิยม

6.1) การศึกษาจะต้องมุ่งให้เด็กมีวินัยในตนเอง (Self discipline)

6.2) ปรัชญาการศึกษานี้เน้นให้แต่ละคนพัฒนาศักยภาพของตน เพื่อความสำเร็จ (to develop is fullest potential for self fulfillment)

6.3) ครูของปรัชญาการศึกษานี้ ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นผู้มีความสำเร็จเท่านั้น แต่จะ ต้องมีความซื่อสัตย์ด้วย Existentialism insists not that the teacher be “successful” but that the teacher be honest) เพราะถ้าครูมีความซื่อสัตย์ ความเชื่อและไว้วางใจจะเกิดขึ้น

6.4) โรงเรียนต้องสนับสนุนให้นักเรียนมีความเป็นตัวของตัวเอง มีโอกาสและรู้จัก เลือกโดยอิสระ (พรรณอร อุชุภาพ, 2546: 8-15)

 

ขณะที่การจัดการศึกษาในประเทศไทยเป็นการจัดการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างปรัชญาทางการศึกษาต่างๆ ดังที่กล่าวมา คือ ดึงส่วนดีของปรัชญาการศึกษาหลายทฤษฎีข้างต้นมาประมวลเข้าด้วยกันแล้วนำมาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาของประเทศไทย (วิไล ตั้งจิตสมคิด, 2539) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

 

วิวัฒนาการและปรัชญาการศึกษาของไทย

ปรัชญาการศึกษาไทยเป็นแบบผสมผสานระหว่างแนวคิดของชาติตะวันตกและอิงพุทธศาสนาประเทศไทยมีประวัติความเป็นมากับการศึกษาเป็นเวลาอันยาวนาน แบ่งการจัดการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังมีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

1) การศึกษาไทยในสมัยโบราณ (.. 1781 – .. 2411) ยังไม่มีโรงเรียนแก่เด็กไทยในสมัยนั้นสามารถหาความรู้ได้จากที่บ้าน สำนักสงฆ์ วิชาที่สอนไม่ได้ตายตัว มีความรู้สามัญเพื่ออ่านออกเขียนได้ วิชาชีพ วิชา จริยศึกษา และศิลปะป้องกันตัว การเรียนของเด็กไทยในสมัยนั้นมุ่งเน้นให้เรียนไปเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันคือเรียนการอ่าน การเขียนและวิชาคำนวณ นอกจากการเรียนอ่านเขียน และคณิตศาสตร์แล้วเด็กไทยคงได้เรียนรู้วิชาชีพตามอย่างบรรพบุรุษ และศีลธรรมจากการบวชเรียน (วรัฏรยา หุ่นเจริญ, 2545: 11-12)

2) การศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา (.. 2412 – .. 2475) ผลจากการเข้ามาของชาวตะวันตกและการเปิดประเทศค้าขายกับตะวันตกนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองการปกครอง และการศึกษาจึงได้มีความสำคัญขึ้นเพื่อพัฒนาคนเข้ามารับ ราชการนำไปสู่การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีการจัดทำแผนแม่บทในการศึกษาเรียกว่าโครงการศึกษาฉบับแรก พ.. 2441

3) การศึกษาสมัยปกครองตามระบอบประชาธิปไตย (.. 2475 - ปัจจุบัน) การศึกษามีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากต้องการพัฒนาคนให้เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นเรื่องของสิทธิของประชาชนในการเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายปกครอง โครงการศึกษาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแผนการศึกษาชาติ พ.. 2475 ต่อมาในปี พ.. 2503 ได้เปลี่ยนชื่อแผนการศึกษาชาติมาเป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2503 และมีพระราชบัญญัติศึกษา แห่งชาติ พ.. 2542 เพื่อมุ่งหวังว่าคนไทยสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพจึงได้จัดทำแผนการศึกษาระยะยาว 15 ปี เรียกว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ..2545-2559 (พรรณอร อุชุภาพ, 2546: 31)

ในยุคการศึกษาสมัยปกครองตามระบอบประชาธิปไตยดังกล่าว สามารถวิเคราะห์พัฒนาการทางด้านปรัชญาการศึกษา ระหว่างปี พ.ศ.2489 – 2538 ซึ่งจัดแบ่งตามช่วงรัฐบาล 6 ช่วง ได้ดังนี้

3.1) ปรัชญาการศึกษาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2489-2491) เน้นสาระเนื้อหาในเชิงลึกและการส่งเสริมคุณลักษณะของพลเมืองดีตามระบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมไทยที่ยึดถือมาตั้งแต่อดีต ตรงกับลักษณะปรัชญาสาขาสารัตถนิยม (Essentialism) และ จิตนิยม (Idealism) ซึ่งจากการจัดการศึกษาในแนวทางนี้ ครูจะมีบทบาทเป็นอย่างมากในการถ่ายทอดความรู้ และทำหน้าที่เป็นแม่พิมพ์ของพฤติกรรมอันดีงานทั้งหลายที่กำหนดเป็นรูปแบบโดยสังคมที่ต้องการให้เกิดในตัวผู้เรียน

3.2) ปรัชญาการศึกษาในช่วงรัฐบาลเผด็จการประชาธิปไตย (พ.ศ. 2492-2500)    มีลักษณะใกล้เคียงกับปรัชญา พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) การจัดการศึกษาแนวนี้ไม่เน้นเนื้อหาสาระมากเหมือนแนวสารัตถนิยม แต่เน้นเรื่องความสนใจของผู้เรียนที่มีความแตกต่างตามวัย และประสบการณ์ในแต่ละช่วงอายุ เน้นความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนรวม ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของการจัดการศึกษาตามแนวนี้คือ การพัฒนานักเรียนทุกๆ ด้านไม่เฉพาะด้านสติปัญญาเพียงด้านเดียว

3.3) ปรัชญาการศึกษาในช่วงรัฐบาลเผด็จการทหารเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2501-2516) การจัดการศึกษาในช่วงนี้อยู่ภายใต้ปรัชญาแนวปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) คือการใช้การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการปรับปรุงประเทศ ปฏิรูปสังคมเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทว่าเป็นการแก้ปัญหาในระดับ   มหภาคตามทิศทางของผู้นำประเทศในสมัยนั้น

3.4) ปรัชญาการศึกษาในช่วงรัฐบาลพลเรือนเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2517-2522) เน้นความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา และยึดแนวทางปรัชญาปฏิรูปนิยมอย่างเต็มรูปแบบในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงโดยใช้หลักการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนเป็นสำคัญแทนการพัฒนาในระดับมหาภาคอย่างเช่นในช่วงก่อน อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาในช่วงนี้ก็ยังมีการใช้หลักปรัชญาอื่นๆ ที่มีความแตกต่างกันไปซึ่งมีทั้งนิรันตรนิยม (Perennialism) พิพัฒนาการนิยม (Progressivism) ไปจนถึง จิตนิยม

3.5) ปรัชญาการศึกษาในช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบ (พ.ศ. 2523-2529) การจัดการศึกษาในช่วงนี้เน้นให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจและสังคมในระดับมหภาค แต่ยังคงให้ความสนใจต่อการพัฒนาในระดับท้องถิ่นควบคู่กันไปด้วย การจัดการศึกษานี้อยู่ในแนวของปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) ที่น่าสังเกต คือ นอกจากการใช้การศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศแล้ว ยังมีการเน้นให้การศึกษาในฐานะเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและมรดกไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเป็นอยู่ ความเชื่อ และค่านิยม และให้ช่วยกันรักษาโครงสร้างและสถาบันหลักๆ ของสังคมไว้      ซึ่งตรงกับแนวทางปรัชญานิรันตรนิยม (Perennialism)

3.6) ปรัชญาการศึกษาในช่วงรัฐบาลพลเรือนเพื่อความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติ (พ.ศ. 2530-2538) จากนโยบายการศึกษาที่รัฐบาลชุดต่างๆ ที่ประกาศในช่วงนี้ ค่อนข้างจะเน้นการจัดการศึกษาในแนวปรัชญาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยปฏิรูปสังคมไทยให้เป็นสังคมยุคใหม่ที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระดับผู้นำของภูมิภาค และเป็นผู้นำทางการเมือง มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสร์และเทคโนโลยี เป็นการปฏิรูปสังคมไม่ให้ล้าหลังประเทศตะวันตก อีกทั้งมีแนวคิดที่ให้อิสระและเสรีภาพแก่ปัจเจกชน โดยเฉพาะภาคธุรกิจและกลุ่มคนโดยทั่วไปในการเลือกเป้าหมาย และวิถีทางการแสวงหาผลประโยชน์ ตลอดจนการให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างค่านิยมใหม่ๆ ให้แก่สังคมอีกด้วย ซึ่งทำให้คนกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดนโยบายเป้าหมายและแนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งตรงกับแนวปรัชญาอัตภาวะนิยม (Existentialism) ที่ให้ความสำคัญต่อปัจเจกบุคคลเป็นหลัก (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ ทิศนา แขมมณี, 2540)

 

          จากวิวัฒนาการการศึกษาของไทยจะเห็นว่า กระบวนเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดการการศึกษาของไทยได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยภายในและภายนอก โดยปัจจัยภายนอกนั่นเองที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเปลี่ยนแปลงฐานคิดของคนไทยเกี่ยวกับการเรียน เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อการอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เราอาจแบ่งการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาของไทย ตามบริบทของการพัฒนา คือ การศึกษาของไทยภายใต้บริบทก่อนทันสมัย และการศึกษาของไทยภายใต้บริบทหลังทันสมัย ดังมีรายละเอียดดังนี้

 

          แนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษาของประเทศไทยในยุคก่อนทันสมัย

            บริบทของสังคมไทยในช่วงก่อนทันสมัย (Pre-Modernization) กล่าวโดยสรุปคงเป็นไปตามสำนวนไทยที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว กล่าวคือ เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้คนในสังคมมีความเป็นอยู่สุขสบาย มีปัจจัยสี่เพียงพอต่อการดำรงชีพซึ่งส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรม ของคนในสังคม ดังที่พระธรรมปิฎก (2544:17-18) ได้สะท้อนให้เห็นว่าสภาพความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม ทำให้คนไทยมีคติทางด้านเทศะที่บอกว่า ที่นี่ดี เดี๋ยวนี้มีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปไหน และจากท่าทีจากจิตใจที่ไม่ต้องไปไหน ก็ส่งผลต่อแนวคิดทางกาละว่าเมื่อไรก็ได้ หรือพรุ่งนี้ เดือนหน้า ปีหน้าก็ได้ ทั้งนี้เพราะสภาพความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากมายทำให้ไม่มีความบีบคั้น ไม่ต้องดิ้นรน ระแวงแย่งชิงทรัพยากรเพื่อการดำรงชีพ คนสามารถเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และไม่ค่อยถือสากันในเรื่องสิทธิจึงมักมีคำพูดว่า ไม่เป็นไร ซึ่งเมื่อมีสภาพเป็นอยู่สุขสบาย มีกินมีใช้พรั่งพร้อม ไม่มีอะไรบีบคั้นให้ต้องมุ่งไปทำ  ก็มีความโน้มเอียงที่จะ

1) เฉื่อยชา  ผัดเพี้ยน  เรื่อยเปื่อย  ย่อหย่อน  อ่อนแอ  ปล่อยปละ ละเลย

2) สำรวย  ฟุ้งเฟื้อ  ลุ่มหลง  หมกมุ่น  มัวเมา  ระเริงในกามและอามิส

            ประกอบกับคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ที่มุ่งสอนให้คนเดินทางสายกลาง สอนให้กินอยู่แบบพอเพียง เน้นการให้ทานและแบ่งปัน อีกทั้งศาสนาพุทธยังสอนให้คนพัฒนาทางด้านจิตใจมากกว่าการพัฒนา สะสมทางด้านวัตถุ อีกทั้งยังสอนให้คนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่ใช่เรียนรู้เพื่อควบคุมธรรมชาติ ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมการผลิตในสังคม ทำให้สังคมไทยในยุคดังกล่าวมีวิธีการผลิตเพื่อการยังชีพเป็นหลัก  และเป็นการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้สิ่งแวดล้อมในช่วงขณะนั้นมีความสมดุล

            แนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษาของประเทศไทยในยุคก่อนทันสมัย มีลักษณะการจัดการศึกษา รวมทั้งได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับ ความรู้  ผู้รู้ รวมทั้ง แหล่งการศึกษา ที่แตกต่างกันจากสภาพสังคมไทยในยุคปัจจุบัน ตามที่ อรศรี  งามวิทยาพงศ์ (2549) และ ทิพวรรณ  ยุทธโยธิน(2528) ได้กล่าวไว้ว่า สังคมไทยในช่วงก่อนเข้าสู่ยุคความทันสมัย การจัดการศึกษาของสังคมไทยยังไม่มีระบบ ผู้เรียนจะศึกษาหาความรู้ตามความต้องการของตนเอง ซึ่ง ความรู้ ที่ผู้เรียนต้องการศึกษาในยุคนั้นจะต้องเป็นความรู้ในเชิงปฏิบัติ ไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎี เช่น ความรู้การทำนา การตีมีด  การปั้นหม้อ  หรือความรู้เกี่ยวกับการผลิตเครื่องมือทำมาหากิน ฯลฯ

            สำหรับ ผู้รู้ นั้น จะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือผู้รู้ที่มีความชำนาญด้านการประกอบอาชีพ ที่มีการปฏิบัติ ฝึกฝนจนชำนาญ มีความสามารถในการประยุกต์และจัดทำได้อย่างประณีต สวยงาม เช่นการตีมีด ต่อเรือ  ทำบาตร  การแกะสลัก ก็จะทำให้คนในสังคมยอมรับเป็นผู้รู้ และจะมีผู้ที่ต้องการมาเรียน โดยเข้ามาฝากตัวเป็นลูกศิษย์เพื่อศึกษา สำหรับผู้รู้อีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ ผู้รู้ทีมีความรู้ด้านจิตวิญญาณ หรือผู้ที่มีความรู้เชื่อมโยงกับอำนาจที่มีอิทธิพลเหนือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นผี หรือนิพพานในพุทธศาสนา รวมทั้งผู้ที่สามารถเข้าถึงระบบธรรมชาติ เช่น ความสัมพันธ์ของธาตุทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ดวงดาว อิทธิพลของดวงดาว ฯ จนกระทั่งรักษาโรค สั่งสอน ชี้แนะ หรือแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตนและการจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่นสิ่งอื่นให้ถูกต้อง บุคคลที่มีความรู้ดังกล่าวจะได้รับการยกย่องนับถือให้เป็น ผู้รู้ ในระดับสูงสุดของสังคม ส่วนมาก ได้แก่ พระภิกษุ หมอธรรม หรือหมอผี จากการที่สังคมในยุคนั้นให้นิยามของความรู้หมายถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพของตน ดังนั้น สถานที่สำหรับการศึกษา ในสังคมยุคก่อนทันสมัยจึงมีอยู่โดยทั่วไป ได้แก่

1) บ้านและครอบครัว ซึ่งถือได้ว่าเป็นฐานการเรียนรู้ของสังคมที่สำคัญในยุคสมัยนั้น 

เนื่องจากสภาพครอบครัวของสังคมไทยในยุคก่อนทันสมัยมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย สมาชิกในครอบครัวจะอู่กันอย่างน้อย ๆ ก็ 3 ชั่วอายุคน บทบาทสำคัญประการหนึ่งของครอบครัวในอดีตคือ การให้การศึกษา แก่บุตรหลาน(รุ่ง  แก้วแดง, 2542:166) ซึ่งการถ่ายทอดการศึกษาหรือการถ่ายทอดความรู้ของคนในครอบครัวจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความรู้เกี่ยวกับการเป็นคนดีของสังคม เช่น การสืบทอดค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนการฝึกฝนจริยธรรมที่ดีงามให้กับสมาชิกในครอบครัว อีกการถ่ายทอดความรู้ของครอบครัวอีกลักษณะหนึ่ง ได้แก่ การให้ความรู้ด้านวิชาชีพแก่บุตรหลาน การศึกษาในบ้านและครอบครัวครูผู้สอนได้แก่ พ่อ แม่ หรือญาติที่สูงอายุกว่า ซึ่งเป็นอาชีพที่ครอบครัวทำอยู่ เช่น ถ้าครอบครัวใดเป็นช่างทองก็จะสอนวิชาช่างทองให้บุตรหลาน  เป็นต้น

2) วัด ซึ่งเป็นแหล่งการศึกษาของเด็กชายสามัญชน ครูผู้สอน ได้แก่ พระภิกษุ เด็ก

ชายไทยที่อายุ 6 7 ปี ผู้ปกครองมักนิยมให้ไปอยู่วัด เพื่อเรียนอ่าน เขียนหนังสือไทย บาลี ขอม เรียนเลข การศึกษาอบรมทางศาสนาและจริยธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคมไทย ตลอดจนเรียนรู้วิชาการอื่น ๆ ตามความสามารถพิเศษของพระแต่ละรูป

3) วังและสำนักปราชญ์ราชบัณฑิต เป็นสถานที่ศึกษาของบุตรหลาน ขุนนาง และเชื้อ

พระวงศ์ สถานศึกษาเช่นนี้ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าให้มีพระมหาราชครู ทำหน้าที่ให้การศึกษา  นอกจากนี้ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ยังนิยมส่งบุตรสาวไปอยู่ตามตำหนักของเจ้านายในบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังของเชื้อพระวงศ์ เพื่อรับการศึกษาเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี กริยามารยาท การบ้าน การเรือน  ส่วนสำนักของปราชญ์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้สูง ผู้มาเรียนมักเป็นบุตรหลานของขุนนาง ข้าราชการเป็นส่วนใหญ่

 

            หลักสูตรหรือเนื้อหาการศึกษา

          จากการที่การศึกษาในยุคก่อนทันสมัยของไทยมีลักษณะการศึกษาในเชิงปฏิบัติการ เน้นการกระทำจริง และการเรียนกระทำในแหล่งการศึกษาทั่วไปไม่เฉพาะเจาจง จึงส่งผลให้การศึกษาในยุคนั้นไม่ได้กำหนดหลักสูตร รวมทั้งเนื้อหาการศึกษาไว้เป็นการเฉพาะ หรือแยกส่วนการศึกษาเหมือนในปัจจุบัน แต่การศึกษาในยุคนั้น เป็นการศึกษาในลักษณะ องค์รวม  ดังเช่นที่อรศรี  งามวิทยาพงศ์ (2549: 23-25) ได้กล่าวไว้ว่าเนื้อหาการศึกษาในยุคก่อนทันสมัยของไทย มิได้แยกออกเป็นรายวิชา หากสอดแทรกอยู่ในการดำเนินชีวิตจริงแต่ละด้าน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เรียนรู้จากการผลิต การบริโภค และแลกเปลี่ยนผลผลิต เป็นต้น ซึ่งในขณะเดียวกันวิถีชีวิตที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น  ใกล้ชิด ได้ทำให้บุคคลได้เรียนรู้เนื้อหาทางศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมในระดับต่าง ๆ ไปด้วย  คือเรียนรู้การควบคุม กาย วาจา ใจของตนเองไม่ให้ไปละเมิดก่อความเดือนร้อนแก่ตนเอง ผู้อื่นรวมทั้งต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้ เนื้อหาการเรียนรู้ด้านศีลธรรม จริยธรรมของบุคคลที่มีต่อชีวิตอื่นและต่อธรรมชาติ ในสังคมก่อนยุคทันสมัยมีความเข้มข้น เนื่องจากแทรกตัวกลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ช่วยให้คนได้รับการฝึกฝนขัดเกลาทางพฤติกรรมและโลกทัศน์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็ก      

แนวคิดพื้นฐานการจัดการศึกษาของประเทศไทยในยุคทันสมัย

การพัฒนาไปสู่ความทันสมัยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ..2504 ในยุคสงครามเย็น สืบเนื่องมาจนกระทั่งโลกเข้าสู่โลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ได้นำความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่มาสู่ระบบความสัมพันธ์ของชีวิตในระดับต่างๆ รวมทั้งระบบการศึกษาของไทย กล่าวคือกระบวนการเรียนรู้แบบของรัฐที่จัดขึ้นใหม่ มีวัตถุประสงค์ให้ความสำคัญสูงสุดแก่การเพิ่มพูนวัตถุ เงินรายได้ มีเนื้อหา แหล่งเรียนรู้ และกระบวนการแบบแยกส่วน ที่ไม่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning) ในทางตรงข้าม ได้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของการแข่งขัน แบ่งแยก การติดต่อสื่อสารโดยผสานการใช้เทคโนโลยีมากกว่าการเรียนรู้จากบุคคล มีผลให้ระบบความสัมพันธ์ระดับต่าง ๆ ถูกลดทอนแยกส่วนไปสู่ระดับปัจเจก กระบวนการเรียนรู้ของบุคคลเป็นไปเพียงเพื่อเป็น"ผู้บริโภคและผู้ผลิตตามที่รัฐและธุรกิจต้องการ กินอยู่ตามแรงกระตุ้นของการโฆษณา ขาดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิตตนเองและชุมชน-สังคมส่วนรวม สังคมยุคพัฒนาจึงดำเนินมาโดยมีสมาชิกเป็นปัจเจกบุคคลที่เห็นแก่ตัวมากขึ้น เนื่องจากการศึกษา การทำงาน การดำรงชีวิตต้องแข่งขันมาก ยิ่งระบบการศึกษามุ่งการสร้างผลลัพธ์แบบสำเร็จรูป ความรู้เชิงปรนัย เทคนิค กระบวนการเรียนรู้ของสังคมยุคทันสมัยก็ยิ่งทำให้บุคคลขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดความใฝ่รู้ในเรื่องอื่น ๆ นอกตัว และแก้ไขปัญหาไม่เป็น จึงไม่สนใจการเมืองการปกครอง ฯลฯ ขาดจิตสำนึกส่วนรวมหรือจิตสำนึกสาธารณะ ให้ความสนใจแต่ความต้องการของตนเองเป็นสำคัญ ขาดความใส่ใจต่อปัญหานิเวศ ปัญหาสังคมอื่น ๆ เพราะคิดว่าไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง

กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวก็ได้รับการสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนายุคทันสมัยได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรม คือความเจริญก้าวหน้าเติบโตของวัตถุ ซึ่งสามารถเห็นได้โดยง่าย ไม่ว่าความเจริญเติบโตของเมือง ชีวิตที่สะดวกสบายและ "ทันสมัย" ของคนเมืองและชนบท ในการอุปโภคบริโภค รูปแบบแปลกใหม่ของการค้าการบริการ ความบันเทิงอย่างใหม่ ฯลฯ ล้วนเป็นที่พึงพอใจของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะของคนชั้นกลางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการพัฒนาแบบใหม่โดยผ่านระบบการศึกษาและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมบริการ แม้ในชนบทเอง การเกิดทางหลวงที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการคมนาคมขนส่ง ระบบการชลประทาน เขื่อน การรักษาโรคแผนใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง การมีสิ่งอำนวยความสะดวกและสบายในชีวิต เช่น ไฟฟ้า รถยนต์ ฯลฯ ผลการพัฒนาทางวัตถุอย่างรวดเร็วดังกล่าวได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนมีความเชื่อว่า การพัฒนาสังคมด้วยความรู้สมัยใหม่ การเข้าสู่โลกาภิวัตน์ จะนำมาซึ่งความมั่งคั่งและความสุขให้แก่ชีวิตและสังคม ตามการโฆษณาของรัฐทั้งในอดีตและปัจจุบัน

การศึกษาในระบบยังถูกครอบงำด้วยการศึกษาแบบพาณิชย์ ที่มุ่งผลกำไร และตลาดที่สนับสนุนลัทธิปัจเจกนิยม (Individualism) ยิ่งทำให้เนื้อหา แหล่งเรียนรู้ของสังคมส่วนใหญ่อยู่ในกระแสเดียวกัน คือมุ่งผลิตซ้ำกระบวนการเรียนรู้เพื่อขยายวัฒนธรรมบริโภคนิยม อันเป็นวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ เนื่องจากกระตุ้นปัจเจกบุคคลให้แข่งขันแก่งแย่งกันแสวงหาความสุขทางวัตถุ และบริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขีดจำกัดตามกำลังเงินและ ความพอใจของตนเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดช่องว่างของคนมีและคนจนที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ที่สำคัญที่สุดคือ ส่งผลให้ระบบคิด-วิธีคิดแบบปัจเจกนิยมเข้มแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ทำลายจริยธรรม จิตสำนึกทางสังคมหรือการคิดและทำเพื่อส่วนรวมให้อ่อนแอลงไปด้วย (อรศรี  งามวิทยาพงศ์, 2549: 47-84)

 

ผลของการรับปรัชญาการศึกษาของโลกตะวันตกเข้ามาใช้ในสังคมไทย

 

อิทธิพลตะวันตกที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาไทย

ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2411 ประเทศไทยได้นำแนวคิดในการจัดการศึกษาแบบตะวันตกมาใช้เป็นแบบอย่าง โดยในระยะแรกการศึกษามีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนให้เข้ารับราชการ บทบาทของการศึกษาถูกใช้ในการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญเทียบเท่าอารยประเทศ ซึ่งการจัดการศึกษาแบบตะวันตกได้เผยแพร่และเจริญเติบโตในสังคมไทยมาจนถึงปัจจุบัน

การรับแนวความคิดของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนมาใช้ พร้อมกับได้รับความรู้และวิทยาการต่างๆ ของตะวันตกมาใช้ เพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า แนวทางการเรียนการสอนจึงมุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านวิชาการของตะวันตกให้มากที่สุด โดยให้ความสำคัญกับการได้รับความรู้และถ่ายทอดความรู้และวิทยาการที่ทันสมัย ทำให้ครู อาจารย์ในสถานศึกษาละเลยการอบรมจิตใจของนักเรียน นักศึกษา ส่งผลให้เยาวชนในระยะหลังๆ ขาดคุณธรรมและจริยธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

แม้ว่าเป้าหมายเชิงอุดมคติของการปฎิรูปการศึกษาที่ผ่านมาโดยเฉพาะ พ.ศ.2542 จะระบุว่าเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อต้องการให้ผู้ที่ผ่านระบบการการศึกษา เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุข แต่เหตุผลที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังมาจากแรงผลักดัน 4 ประการด้วยกัน คือ แรงผลักดันด้านธุรกิจอุตสาหกรรม แรงผลักดันด้านความก้าวหน้าอันรวดเร็วของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แรงผลักดันจากฝ่ายประชาชนที่ต้องการให้มีการศึกษาทางเลือก และแรงผลักดันทางการเมือง (อุทัย ดุลยเกษม, 2545: 212-213) ซึ่งต้องการรูปแบบการศึกษาที่ทันสมัยเพื่อให้สังคมไทยก้าวทันในกระแสโลกาภิวัตน์ รูปแบบการศึกษาของตะวันตกจึงถูกเลือกให้นำมาใช้ในบริบทสังคมไทย แต่เนื่องจากปรัชญาการศึกษาของโลกตะวันตกส่วนใหญ่มุ่งศึกษาแบบแยกส่วนไม่สัมพันธ์กับบริบทสิ่งแวดล้อม ซึ่งการศึกษาแบบแยกส่วนสนใจเรื่องเนื้อหามากกว่าความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง การศึกษาที่แยกพิจารณาสิ่งต่างๆทำให้มองไม่เห็นภาพที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด ทำให้ผู้คนในยุคนี้มีปัญหา ซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะในสังคมไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาร่วมกันของผู้คนทั่วโลกดังจะเห็นว่า เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2538 ในการประชุมระดับโลกว่าด้วยการพัฒนาสังคมที่จัดขึ้นที่เมืองโคเปนเฮเก็น ประเทศเดนมาร์ก มีนักคิดและนักปฏิบัติจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม ได้มีข้อสรุปที่เห็นพ้องต้องกันว่า ในขณะนั้นวิกฤตการณ์สำคัญของสังคมทั้งหลายในโลกที่กำลังเผชิญอยู่ มี 4 ประการ และแม้เวลาจะผ่านพ้นไปหลายปี แต่วิกฤตการณ์นั้นก็ยังไม่หมดไป กลับเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน วิกฤตการณ์ดังกล่าว มี 4 ประการ คือ ความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ การล่มสลายของระบบนิเวศ การพังทลายของระบบครอบครัวและชุมชน และการเสื่อมด้านจริยธรรม (อุทัย ดุลยเกษม, 2545: 216-217)

สอดคล้องกับผลการสำรวจของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เรื่อง 10 ปัญหาการศึกษาไทย ที่หนักอกผู้บริหารการศึกษาและแนวทางการแก้ไข    จากการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาระดับสูงและระดับกลาง ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 216 คน (ทั้งผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ) ในวันที่ 14 มกราคม 2543 สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้        

         10 ปัญหาการศึกษาไทย ที่หนักอกผู้บริหารการศึกษาอันดับที่ 1  ยาเสพติด 30.43% อันดับที่  2  ความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรทางการศึกษา 12.56% อันดับที่ 3 เงินกู้ยืม ทุนการศึกษา มีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องการ 12.08% อันดับที่  4  สถานศึกษาขาดปัจจัยสนับสนุน  ด้านบุคลากร  และงบประมาณที่เหมาะสม 11.59% อันดับที่ 5 นักศึกษา/นักเรียน  ขาดคุณภาพ 11.11% อันดับที่ 6 วัฒนธรรมและจริยธรรมเสื่อมโทรมลง 8.21% อันดับที่ 7 การแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารของกระทรวงศึกษาไม่โปร่งใส/ไม่ยุติธรรม 5.13% อันดับที่ 8 หลักสูตรการเรียนการสอนล้าสมัย 3.38% อันดับที่ 9 การแต่งกายและการขาดระเบียบวินัยของนักศึกษา 2.90% อันดับที่ 10 การปฏิรูปการศึกษาที่ล่าช้าไม่มีแนวทางชัดเจน 2.61% (สวนดุสิตโพล, 2543)

 

ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ผลกระทบของการเปิดรับระบบการศึกษาสมัยใหม่ของประเทศโลกตะวันตกเข้ามาเป็นกรอบดำเนินการจัดการศึกษาของสังคมไทย จะพบว่าในระยะที่ผ่านมาการจัดการศึกษาของไทยที่จัดการศึกษาตามแนวทางตะวันตกส่งผลกระทบต่อคนและชุมชน ดังนี้

 

1) ผลกระทบต่อคน โดยเฉพาะด้านความรู้ของคน การจัดการศึกษาตามแนวทาง

ตะวันตกที่เน้นการศึกษาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้านตามที่ระบบอุตสาหกรรมต้องการ  เมื่อสำเร็จการศึกษาจักได้ทำงานในสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรม หรือองค์การของรัฐเป็นหลัก  ทำให้เนื้อหาของหลักสูตร หรือความรู้ที่สถานศึกษากำหนดไว้ในรายวิชาเป็นการหยิบยืมความรู้จากประเทศซีกโลกตะวันตกมาใช้กับประเทศไทยเป็นหลัก ความรู้ดังกล่าวจึงเป็นการสนองตอบต่อระบบอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ได้เน้นการศึกษาเพื่อนำความรู้ไปดัดแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน เป็นความรู้ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคน และการให้นิยามของคำว่า ความรู้ และ ผู้รู้ ของสังคมไทยในยุคความทันสมัย ไม่ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของสังคมไทย ดังเช่นผลการศึกษาของวิโรจน์ สารรัตน(2544: 3) ที่พบว่า

1.1) ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาแต่ดังเดิมของไทย ที่มีพระ หมอแผนโบราณ หมอผี ผู้อาวุโส ฯลฯ เป็นผู้นำ ถูกกีดกันอยู่นอกเส้นทางการพัฒนา โดยความรู้ หรือภูมิปัญญาดังกล่าวไม่ถือเป็น ความรู้ ที่สมควรได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้เด็กได้รับการศึกษา การจัดการศึกษาถูกผูกขาดโดยอำนาจรัฐจากส่วนกลาง ที่มีสถาบันการศึกษาและครู มีนักการศึกษา และผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้รู้เฉพาะศาสตร์ทางการศึกษาเป็นตัวแทนเท่านั้น

1.2) ภายในตัวระบบการศึกษาเอง ก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นเศษเสี้ยวโดยที่แต่ละ

ส่วนก็รับผิดชอบเฉพาะสาขาของตนและทั้งหมดหาได้มีส่วนสัมพันธ์กับสภาพปัญหาและความต้องการในกระบวนการเรียนรู้ของชาวชนบท

            กล่าวโดยสรุป ผลกระทบของการศึกษาตามแนวทางตะวันตกที่มีต่อการพัฒนาคนของประเทศไทยนั้น ทำให้คนมีความไม่เชื่อมั่นต่อ ความรู้ เดิมของตนที่มี เนื่องจากระบบการศึกษาได้เน้นย้ำความรู้สมัยใหม่มีได้แต่เพียงในระบบการศึกษา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการให้คำนิยามของ แหล่งเรียนรู้ ซึ่งเดิมมีอยู่โดยทั่วไป แต่ในการศึกษาสมัยใหม่ให้ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้คือสถานศึกษา จากการเปลี่ยนคำนิยามดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อความรู้ของคนในสังคมไทยเป็นอย่างมาก

 

2) ผลกระทบต่อชุมชน จากการที่นโยบายด้านการศึกษามุ่งเน้นเพื่อสนองตอบภาคเศรษฐกิจ ความรู้เป็นการหยิบยืมมาจากต่างประเทศ ทำให้ชุมชนมีความอ่อนแอ เนื่องจากไม่ได้พัฒนาความรู้ที่เหมาะสมกับชุมชน เป็นความรู้ที่ต้อง พึ่งพิง จากภายนอกชุมชน ประกอบกับเมื่อคนในชุมชนจบจากการศึกษาในระบบก็จะเข้าทำงานในสถานประกอบการไม่ได้นำความรู้กลับมาพัฒนาชุมชนของตน เพราะชุมชนไม่มีงานที่ตรงกับการศึกษาของตนผลกระทบของการศึกษาที่มีต่อชุมชนนี้วิโรจน์ สารรัตนะ (2544: 3) ได้สรุปไว้ 2 ประเด็น คือ

2.1) ผลของการศึกษาทำให้เกิดภาวะ สมองไหลจากชนบทเข้าสู่เมือง ผลจากค่านิยมแห่งการไต่เต้าทางการศึกษาที่ผ่านมาได้ดึงดูดมันสมองจากชนบทเข้าเมือง และรับใช้เฉพาะสังคมเมือง เด็กไม่อาจนำความรู้ที่ได้รับกลับไปพัฒนาสร้างสรรค์ชุมชนของตนเองได้

2.2) การศึกษากลายเป็นกระบวนการครอบงำทางวัฒนธรรมของสังคมเมืองให้แก่ชนบท เป็นการทำให้ชนบทต้องกลายเป็นเมืองขึ้นหรืออาณานิคมทางวัฒนธรรมของสังคมเมือง ซึ่งสังคมเมืองก็ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของตะวันตกอีกชั้นหนึ่ง การศึกษากลายเป็นสิ่งแปลกแยกของชุมชน ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกำหนดความต้องการทางการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชนที่แตกต่างไปในแต่ละแห่ง ทำลายภูมิปัญญาและระบบการพึ่งตนเองของชุมชนให้ตกอยู่ภายใต้ภาวการณ์พึ่งพิงจากสังคมภายนอก

            นอกจากนี้ ยังพบว่าการศึกษามีลักษณะการเสริมปัญหามากกว่าการแก้ปัญหา ทั้งนี้เพราะการศึกษาจัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของสังคม ซึ่งมิได้เสริมเป้าหมายของการแสวงหาความรู้ สัจธรรม จริยธรรม และความดีงามของมนุษย์ แต่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมที่เกิดจากภาวการณ์แข่งขันในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาระดับกลางและระดับสูง นอกจากนั้น สิ่งที่ผิดพลาดในการจัดการศึกษาในอดีตเกิดจากการรวมศูนย์ทางการศึกษาเพื่อรักษามาตรฐานเดียวกันเอาไว้ทั้งประเทศ และจัดตามลักษณะการปกครองของประเทศที่มีลักษณะรวมศูนย์ การศึกษาในอดีตจึงมีแนวโน้มที่เป็นการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง และมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น การมีคุณภาพต่างกันขึ้นอยู่กับตัวนักเรียน คุณภาพของครูและอุปกรณ์การสอน ซึ่งมีผลทำให้มาตรฐานดังกล่าวผู้ที่ศึกษาในชนบทมีสภาพเสียเปรียบตลอดเวลา

 

สรุป

 

          เป้าหมายที่สำคัญของการศึกษาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสังคม การศึกษาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง และเกี่ยวข้องกับบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับมนุษย์ ซึ่งได้แก่บริบททางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และจริยธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์มีศักยภาพในการดำเนินวิถีชีวิตไปตามสภาพแวดล้อมและสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยใช้วิธีการต่างๆที่เหมาะสมกับความเชื่อ ทัศนคติ วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ใน ภูมิ-สังคมต่างๆ เช่น การเรียนทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา การศึกษาตามอัธยาศัย การฝึกอบรม เป็นต้น ที่ผ่านมามนุษย์ได้ใช้วิธีการต่างๆทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาตนเองและผู้คนในสังคม แต่การพัฒนาที่ผ่านมาผู้คนได้ยึดแนวทางการศึกษาที่เป็นกระแสหลักมากเกินไป โดยทำตามๆกันไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้แนวคิดการศึกษาที่ไม่ใช่กระแสหลักถูกเบียดขับ กลายเป็นแนวทางการศึกษาชายขอบ ไม่ได้รับการยอมรับ และไม่ให้คุณค่า จากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม ทำให้แนวทางการศึกษาที่ไม่ใช่กระแสหลักขาดการพัฒนาต่อยอดและเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตกับผู้คนในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้คนในสังคมได้รับการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยเฉพาะความไม่เท่าเทียมด้านการให้คุณค่าของผู้คนในสังคม เช่น องค์ความรู้ท้องท้องถิ่นต่างๆ ที่แม้จะมีประโยชน์ มีคุณค่า แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากทั้งผู้คนในสังคมและผู้คนในท้องถิ่นเอง ขณะที่เครื่องมือการศึกษาในแนวทางหลักยังไม่สามารถตอบสนองต่อผู้คนได้อย่างทั่วถึงครอบคลุม เกิดภาวะที่เรียกว่าชุมชนอ่อนแอ ชุมชนล่มสลาย เพราะสมาชิกในชุมชนที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษากระแสหลักได้ละทิ้งแนวทางพื้นฐานของตนเอง เพื่อดิ้นรน แสวงหา ขับตนเองเข้าไปอยู่ใน ระบบการศึกษากระแสหลัก การพัฒนากระแสหลัก ที่ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมให้การยอมรับว่าเป็นแนวทางที่เหมาะสม ดีที่สุดแล้วในขณะนั้น ทั้งที่ๆอาจจะไม่สามารถตอบสนองได้ดีกับทุกผู้คนในสังคม

                  การศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนจึงควรเป็นการศึกษาที่สมดุล ให้คุณค่ากับแนวทางการศึกษาทุกรูปแบบที่มีประโยชน์ โดยยึดความต้องการของหน่วยย่อยต่างๆในสังคมเป็นพื้นฐาน แนวทางหลักในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคน ชุมชน และสังคมโดยรวม จึงต้องบูรณาการความหลากหลายต่างๆมีอยู่ ให้สามารถตอบสนองมนุษย์และชุมชนที่หลากหลายในสังคมได้อย่างเท่าเทียม

เอกสารอ้างอิง 

ทิพวรรณ  ยุทธโยธิน.  2528.  เอกสารคำสอนวิชาการศึกษาไทย.  (เอกสารโรเนียวอัดสำเนา)

พระธรรมปิฎก.  2544.  การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสังคมไทย.  กรุงเทพมหานครฯ: ภัคธรรศ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ ทิศนา แขมมณี.  2540.  พัฒนาการด้านการศึกษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 9. กรุงเทพมหานครฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณอร อุชุภาพ.  2546.  เอกสารประกอบการสอน รายวิชาการศึกษาและความเป็นครูไทยคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร.

ภัทรธิรา ผลงาม.  2548.  เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนา (ออนไลน์)http://www.rds.phd.lru.ac.th/Dr.patthira/tomra04/, 28 กันยายน 2551.

รุ่ง  แก้วแดง.  2546.  ปฏิวัติการศึกษาไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานครฯ: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.

วรัฏรยา หุ่นเจริญ.  2545.  โรงเรียนในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 (.. 2411 – 2468)วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไล  ตั้งจิตสมคิด.  2539.  การศึกษาไทย.  กรุงเทพมหานครฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สวนดุสิตโพล2543.  10 ปัญหาการศึกษาไทย ที่หนักอกผู้บริหารการศึกษาและแนวทางการแก้ไข (ออนไลน์).  http://www.ryt9.com/news/2000-01-14/23285279/, 17 พฤษจิกายน 2551.

อรศรี  งามวิทยาพงศ์.  2549.  กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลงจากยุค

ชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย.  กรุงเทพมหานครฯ: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม.

อุทัย ดุลยเกษม.  2545.  สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา.  พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา.

เงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้ว

“ ที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ มีมติจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นเงินปันผลตามหุ้นอัตราร้อยละ 5 ” หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า ร้อยละ 5 ต่อหุ้น หรือ ...