วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การนำที่ ส.ป.ก. ไปค้ำประกันเงินกู้

มีเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์ครอบครัวหนึ่ง เล่าปัญหาให้ผมฟังเกี่ยวกับการนำที่ดิน ส.ป.ก. ไปค้ำประกันเงินกู้ ซึ่ง สถาบันการเงินส่วนใหญ่เขาไม่รับนะครับ เพาะเป็นที่ดินของรัฐ เกษตรกรเป็นเพียงผู้มีสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน เพราะหากมีการผิดนัดการชำระหนี้ เจ้าหนี้จะไปฟ้องคดีบังคับคดีเอาที่ดิน ส.ป.ก. ออกขายทอดตลาดไม่ได้ เนื่องจากที่ดิน ส.ป.ก. เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ตามมาตรา 36 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และที่แก้ไข กำหนดว่า “บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม”

ที่ดิน ส.ป.ก. จึงถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ห้ามยึด และ ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแก่ตนได้ ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 1307 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดว่า “ท่านห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่”

แต่มี 2 แหล่งเงินกู้ที่เกษตรกรผู้มีสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ดังนี้

1. เกษตรกรนำที่ดิน ส.ป.ก. ไปค้ำประกันการกู้เงินกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามบันทึกข้อตกลง ระหว่าง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตกรรม ( ส.ป.ก.) กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เรื่อง การให้ผู้ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขอรับสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556

2. เกษตรกรผู้มีสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. สามารถกู้เงินกับกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การให้กู้ยืมเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554

อนึ่ง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 สปก. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) การร่วมมือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้มีการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียน ต่อ กฟก. และได้นำหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ประกันหนี้ไว้กับ ธ.ก.ส. แล้วไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. ได้ เมื่อ กฟก. เข้ารับภาระหนี้แทนเกษตรกรที่ค้างชำระหนี้ กับ ธ.ก.ส. แล้ว ให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีสิทธินำหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) มาเป็นประกันหนี้ กับ กฟก. ได้

ส่วนหนี้สหกรณ์การเกษตร สปก. ได้ขอความอนุเคราะห์กรมส่งเสริมสหกรณ์ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบและสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับสหกรณ์ เรื่องความคืบหน้ากรณีการหาแนวทางแก้ไขปัญหาการนำ ส.ป.ก. 4-01 วางเป็นหลักประกันหนี้กับสหกรณ์การเกษตร โดยได้มีการจัดประชุมหารือระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย กองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรณีเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยนำหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ไปวางเป็นหลักประกันหนี้กับสหกรณ์การเกษตร โดย

1. การนำหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ไปวางเป็นประกันการชำระหนี้กับสหกรณ์การเกษตร ถือเป็นหลักประกันที่ไม่มีผลผูกพันกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

2. กรณีกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พิจารณารับชำระหนี้สินของเกษตรกรให้กับสหกรณ์การเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยินดีให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ยึดถือหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เป็นประกันการชำระหนี้ได้

3. สปก. ยินดีให้ความร่วมมือในการตรวจสอบการถือครองที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ของสมาชิกสหกรณ์ กรณีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พิจารณารับชำระหนี้สินของเกษตรกรให้กับสหกรณ์การเกษตร

การออกเสียงชี้ขาดในที่ประชุม

ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดแปลว่าอะไร ??? โดยปกติประธานในที่ประชุมจะไม่ยกมือ จะยกก็ต่อเมื่อคะแนนเท่ากัน และจะยกมือเพื่อชี้ขาด 

แล้วมันคืออะไร คืออย่างไร ยกแค่ครั้งเดียว หรือยกได้ 2 ครั้ง ขยายความว่า ยกออกเสียงตามปกติ 1 ครั้ง แต่ถ้าคะแนนเท่ากัน ยกอีกครั้งเพื่อชี้ขาด อะไร อย่างไร กันแน่ อ่านกฎหมายก็งง ดูคำพิพากษาก็งง ยังฟันธงไม่ได้ว่ายกกี่ครั้งกันแน่ แต่ทุกอย่างมีทางออกเสมอ English is fun. คือคำตอบ 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 97 ใช้คำว่า “an additional vote as casting vote”

มาตรา 1161 ใช้คำว่า “in case of an equality of votes the chairman has a casting vote”

มาตรา 1193 ใช้คำว่า “the chairman of the meeting shall be netitled to a second or casting vote” 

พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข มาตรา 59 ใช้คำว่า “the chairman of the meeting shall have an additional vote as a casting vote” 

สรุป ประธานในที่ประชุมยกมือออกเสียงได้สองครั้ง ครั้งแรกยกมือเพื่อออกเสียง หากคะแนนเท่ากันยกมือครั้งที่สองเพื่อชี้ขาด 

รายละเอียดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข 

มาตรา 59 สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ... 

Section 59, Each member or delegate of members shall have one vote. In case of equality of votes, the chairman of the meeting shall have an additional vote as a casting vote. … 

ป.พ.พ.

มาตรา 97 มติของที่ประชุม ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่กรณีที่ข้อบังคับของสมาคมกำหนดเสียงข้างมากไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ

สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด 

Section 97. Decision of the meeting shall be by majority of votes, except in the case where a particular majority of votes is specially provided in the regulations of the association.

Each member shall have one vote. In case of an equally of votes, the chairman of the meeting shall have an additional vote as casting vote. 

มาตรา 1161 ข้อปรึกษาซึ่งเกิดเป็นปัญหาในที่ประชุมกรรมการนั้นให้ชี้ขาดตัดสินเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด 

Section 1161. Questions arising at any meeting of directors are decided by a majority of votes, in case of an equality of votes the chairman has a casting vote. 

มาตรา 1193 ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน จะเป็นในการชูมือก็ดี หรือในการลงคะแนนลับก็ดี ให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมมีคะแนนอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด 

Section 1193. In the case of an equality of votes, whether on a show of hands or on a poll, the chairman of the meeting shall be netitled to a second or casting vote.

 

คำพิพากษา ฎีกาที่ 8032/2559

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การดำเนินธุรกิจรับฝากเงินของสหกรณ์

 

ประเด็น

กรณีปัญหา

แนววินิจฉัย

ข้อกฎหมาย

กฎหมาย

การรับฝากเงินจากสมาชิกสหกรณ์ซึ่งสมาชิกนั้นนำเงินของบุคคลอื่นมาฝาก

กรณีที่ 1 ผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 2 ครูสมาชิกสหกรณ์นำเงินของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 3 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของวัดมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อวัด หรือในนามวัด

 

 

กรณีที่ 4 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของโรงเรียนมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อโรงเรียน หรือในนามโรงเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 5 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกองทุนหมู่บ้านมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกองทุนหมู่บ้าน หรือในนามกองทุนหมู่บ้าน

 

 

 

 

กรณีที่ 6 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์มาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์ หรือในนามกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 7 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกลุ่มธรรมชาติที่ไม่ใช่สมาชิกสหกรณ์มาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกลุ่มธรรมชาติ หรือในนามกลุ่มกลุ่มธรรมชาติ

ผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์ สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากแก่เจ้าของทรัพย์ ซึ่งถือเป็นดอกผลนิตินัยของทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. ม 148

ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์

ทั้งต้นเงินฝากและดอกเบี้ยเงินฝากจึงเป็นของบุตรผู้เยาว์ มิใช่ของผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์

ฉะนั้นสหกรณ์จึงไม่สามารถรับฝากเงินจากผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์ เนื่องจากขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สหกรณ์ไม่สามารถรับฝากเงินจากครูสมาชิกสหกรณ์นำเงินของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เนื่องจากทั้งต้นเงินฝากและดอกเบี้ยเงินฝากเป็นของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มิใช่ของครูสมาชิกสหกรณ์ จึงขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อกฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564 และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549 หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

สามารถดำเนินการได้ แต่สหกรณ์ต้องกำหนดข้อบังคับให้มีอำนาจกระทำการส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มรวมกันผลิต กลุ่มรวมกันซื้อ กลุ่มรวมกันขาย และกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ กำหนดระเบียบสหกรณ์ ว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มรวมกันผลิต กลุ่มรวมกันซื้อ กลุ่มรวมกันขาย และกลุ่มออมทรัพย์ และในการฝากเงินต้องไปไปตามที่ระเบียบกำหนด

 

ไม่สามารถดำเนินการได้หาก แม้จะมีสมาชิกบางคนในกลุ่มเป็นสมาชิกสหกรณ์ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ ม. 46 (5) และมีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร

 

 

มาตรา 148 ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย

ดอกผลธรรมดา หมายความว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น

ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ

มาตรา 1573 ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วนที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้ เว้นแต่จะเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรม ซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ

ดูมาตรา 1574 และ 1598/4 ประกอบ

 

มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ดอกเบี้ยเงินฝากและผลตอบแทนเงินฝาก ต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือนนับแต่วันที่เริ่มฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาทต่อเดือน และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกแสนบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา 5 ในกรณีที่การฝากเงินไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด ให้ถือว่าเป็นกรณีที่สหกรณ์ออมทรัพย์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายขาดไปสําหรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากส่วนที่ได้จ่ายไปแล้ว และให้สหกรณ์ออมทรัพย์นําส่งภาษีส่วนที่ขาดพร้อมกับเงินเพิ่มร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีส่วนที่ขาดโดยไม่มีเบี้ยปรับ ให้สหกรณ์ออมทรัพย์นําส่งภาษีและเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งโดยยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการผิดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์อันเป็นเหตุให้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกา

 

ข้อ 2 ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเป็นดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากที่ผู้มีเงินได้เปิดขึ้นใหม่โดยเฉพาะแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และผู้มีเงินได้ต้องมีบัญชีเงินฝากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นี้บัญชีเดียว

ข้อ 3 การฝากเงินดังกล่าวจะต้องเป็นการฝากตามวงเงิน และภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน จะขาดการฝาก หรือฝากไม่ครบตามวงเงินที่กำหนด หรือฝากล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด กรณีใดกรณีหนึ่งหรือทุกกรณีรวมกันเกินสองเดือนไม่ได้

ข้อ 4 ชื่อบัญชีเงินฝากจะต้องเป็นชื่อของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากนั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

ข้อ 7 ผู้ฝากเงินต้องแจ้งเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของตนต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ผู้รับฝากเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว กรณีที่ผู้ฝากเงินตามวรรคหนึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน  ให้แจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ผู้รับฝากเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว

ข้อ 8 สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากตามข้อ  2 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินต่อสำนักงาน สรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ย  หรือผลตอบแทนเงินฝากตั้งอยู่แล้วแต่กรณี

 

ข้อ 5 (2) ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์ บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม

 

มาตรา ๓๓ สหกรณ์จะตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และต้อง (๒) มีสมาชิกเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ

มาตรา ๔๑ สหกรณ์ตามมาตรา ๓๓/๑ อาจรับสมาชิกสมทบได้

สมาชิกสมทบต้องเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งบรรลุนิติภาวะ เว้นแต่สหกรณ์ตาม มาตรา ๓๓/๑ (๔) (๖) หรือ (๗) ที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาอาจรับผู้ศึกษาในสถานศึกษานั้นซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะให้เป็นสมาชิกสมทบได้

สมาชิกสมทบต้องมีความสัมพันธ์กับสหกรณ์หรือสมาชิกสหกรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนด...

มาตรา ๔๖ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้

(๕) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อ 7 การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกินหนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้เก็บรักษาโดยฝากธนาคารในนามของวัด หรือวิธีการอื่นใดตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด การดูแลรักษาและจัดการเงินการกุศลที่มีผู้บริจาค ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค

 

 

ข้อ 6 ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเงินสดไว้เพื่อสำรองไข้จ่ายได้ภายในวงเงินที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง นอกนั้นให้นำฝากกระทรวงการคลังหรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี หรือนำฝากธนาคารพาณิชย์ตามวงเงินที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ

 

 

 

 

 

 

 

เงินรายได้สถานศึกษาส่วนที่เกินวงเงินเก็บรักษา กรณีโรงเรียนให้นำเงินรายได้สถานศึกษาสวนที่เกิน ฝากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกเงิน ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาสวนที่เกิน ฝากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด หรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอแล้วแต่กรณี ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารถือเป็นเงินรายได้สถานศึกษา ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเดียวกันกับท้องที่ตั้งของโรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หากท้องที่นั้นไม่มีธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจให้บริการก็ให้นำฝากธนาคารพาณิชย์อื่นภายในท้องที่อำเภอเดียวกัน ได้ สำหรับประเภทเงินฝาก ให้อยู่ในดุลพินิจของโรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

 

ข้อ 20 วรรคสาม ...หากมีจำนวนเงินสดที่เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยตามวรรคหนึ่ง ให้นำฝากธนาคารทั้งจำนวนในวันทำการถัดไป กรณีเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีพื้นที่ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวกไม่สามารถนำฝากธนาคารได้เป็นประจำทุกวันให้เก็บรักษาเงินสดในตู้นิรภัยได้ และให้นำเงินสดดังกล่าวฝากธนาคารในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์

 

 

 

 

 

ข้อ ๑๐ ใหคณะกรรมการกองทุนหมูบาน รับสมัครสมาชิก และเปดบัญชีกองทุนหมูบาน

(บัญชีที่ ๑) ภายใตชื่อบัญชี “กองทุนหมูบ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองแล้วแตกรณี (ชื่อบ้านหรือชื่อชุมชน...........................หมูที่............ตําบล/แขวง........................อําเภอ/เขต............................จังหวัด.....................)” ไวกับธนาคาร เพื่อรับโอนเงินที่ไดรับจัดสรรจากคณะกรรมการ และเปดบัญชีเงินสะสม (บัญชีที่ ๒) เพื่อรองรับเงินฝากของสมาชิก

 

 

มาตรา 46 เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้

(5) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

(9) ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

 

 

 

 

 

มาตรา 39

"คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล " หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกัน อันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๔) พ.ศ. ๒๕๖๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 351)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 228)

 

- พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. กฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564

 

 

6. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549

 

7. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549

 

 

 

 

 

 

8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

9. ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑

 

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10. ประมวลรัษฎากร

 

- เรื่องการรับฝากเงินจากบุคคลภายนอก ตัวแทนคือ คกก. ผจก. จนท. กระทำนอกเหนืออำนาจของตัวการ คือสหกรณ์ ไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบัน 823 812

- แต่กรณีนี้ พรบ สหกรณ์ กำหนดชัดแจ้งว่า มีอำนาจรับฝากเงินจากสมาชิกหรือนิติบุคคล… 46 (5) ส่งผลให้ตัวการ คือสหกรณ์ ไม่อาจให้สัตยาบันได้อย่างแน่แท้ เพราะถึงแม้จะให้สัตยาบันก็ส่งผลให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ 150

- คู่กรณีกลับสู่ฐานะเดิม และนำเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5) ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องคำนิยามวงเงินการกู้ยืมหรือการค้ำประกันของสหกรณ์ ข้อ 3 กำหนดว่า จำนวนเงินที่รับฝากจากสหกรณ์อื่น ถือเป็นจำนวนเงินที่สหกรณ์ได้ก่อหนี้ภาระผูกพันแล้วซึ่งไม่นับรวมจำนวนเงินที่ชุมนุมสหกรณ์รับฝากจากสหกรณ์สมาชิก ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ไม่ได้กำหนดว่าเงินรับฝากจากสมาชิกถือเป็นจำนวนเงินที่สหกรณ์ได้ก่อหนี้ภาระผูกพันแล้ว

แม้ในทางบัญชีเงินรับฝากกสมาชิกจะถือเป็นหนี้สิน แต่ก็ถือเป็นทุนภายในที่มาจากสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าของสหกรณ์ การใช้ทุนภายในมาเป็นทุนดำเนินงานของสหกรณ์จึงเป็นไปตามอุดมการณ์สหกรณ์ที่ว่า การช่วยเหลือตนเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งความกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรม และเกิดสันติสุข แต่ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวต้องคำนึงถึงกฎหมาย ระเบียบ ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลสมาชิก ซึ่งรายละเอียดต่อไปนี้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจรับฝากเงินของสหกรณ์ 

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...