วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การดำเนินธุรกิจรับฝากเงินของสหกรณ์

 

ประเด็น

กรณีปัญหา

แนววินิจฉัย

ข้อกฎหมาย

กฎหมาย

การรับฝากเงินจากสมาชิกสหกรณ์ซึ่งสมาชิกนั้นนำเงินของบุคคลอื่นมาฝาก

กรณีที่ 1 ผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 2 ครูสมาชิกสหกรณ์นำเงินของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 3 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของวัดมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อวัด หรือในนามวัด

 

 

กรณีที่ 4 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของโรงเรียนมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อโรงเรียน หรือในนามโรงเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 5 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกองทุนหมู่บ้านมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกองทุนหมู่บ้าน หรือในนามกองทุนหมู่บ้าน

 

 

 

 

กรณีที่ 6 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์มาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์ หรือในนามกลุ่มอาชีพสมาชิกสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีที่ 7 สมาชิกสหกรณ์นำเงินของกลุ่มธรรมชาติที่ไม่ใช่สมาชิกสหกรณ์มาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อกลุ่มธรรมชาติ หรือในนามกลุ่มกลุ่มธรรมชาติ

ผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์ สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากแก่เจ้าของทรัพย์ ซึ่งถือเป็นดอกผลนิตินัยของทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. ม 148

ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์

ทั้งต้นเงินฝากและดอกเบี้ยเงินฝากจึงเป็นของบุตรผู้เยาว์ มิใช่ของผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์

ฉะนั้นสหกรณ์จึงไม่สามารถรับฝากเงินจากผู้ปกครองซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์นำเงินของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ ในนามตนเองเพื่อบุตรผู้เยาว์ เนื่องจากขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สหกรณ์ไม่สามารถรับฝากเงินจากครูสมาชิกสหกรณ์นำเงินของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาฝากสหกรณ์ในนามตนเองเพื่อเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เนื่องจากทั้งต้นเงินฝากและดอกเบี้ยเงินฝากเป็นของเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มิใช่ของครูสมาชิกสหกรณ์ จึงขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อกฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564 และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549 หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ และขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5)

 

 

สามารถดำเนินการได้ แต่สหกรณ์ต้องกำหนดข้อบังคับให้มีอำนาจกระทำการส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มรวมกันผลิต กลุ่มรวมกันซื้อ กลุ่มรวมกันขาย และกลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ กำหนดระเบียบสหกรณ์ ว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มรวมกันผลิต กลุ่มรวมกันซื้อ กลุ่มรวมกันขาย และกลุ่มออมทรัพย์ และในการฝากเงินต้องไปไปตามที่ระเบียบกำหนด

 

ไม่สามารถดำเนินการได้หาก แม้จะมีสมาชิกบางคนในกลุ่มเป็นสมาชิกสหกรณ์ก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะขัดต่อ พ.ร.บ. สหกรณ์ ม. 46 (5) และมีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร

 

 

มาตรา 148 ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย

ดอกผลธรรมดา หมายความว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น

ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ

มาตรา 1573 ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วนที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้ เว้นแต่จะเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรม ซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ๆ

ดูมาตรา 1574 และ 1598/4 ประกอบ

 

มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ดอกเบี้ยเงินฝากและผลตอบแทนเงินฝาก ต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินเป็นรายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่เดือนนับแต่วันที่เริ่มฝาก โดยมียอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกินสองหมื่นห้าพันบาทต่อเดือน และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินหกแสนบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด

มาตรา 5 ในกรณีที่การฝากเงินไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนดตาม หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด ให้ถือว่าเป็นกรณีที่สหกรณ์ออมทรัพย์หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายขาดไปสําหรับดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากส่วนที่ได้จ่ายไปแล้ว และให้สหกรณ์ออมทรัพย์นําส่งภาษีส่วนที่ขาดพร้อมกับเงินเพิ่มร้อยละ ๑.๕ ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีส่วนที่ขาดโดยไม่มีเบี้ยปรับ ให้สหกรณ์ออมทรัพย์นําส่งภาษีและเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งโดยยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการผิดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์อันเป็นเหตุให้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกา

 

ข้อ 2 ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องเป็นดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนเงินฝากจากบัญชีเงินฝากที่ผู้มีเงินได้เปิดขึ้นใหม่โดยเฉพาะแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากประเภทอื่น และผู้มีเงินได้ต้องมีบัญชีเงินฝากที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นี้บัญชีเดียว

ข้อ 3 การฝากเงินดังกล่าวจะต้องเป็นการฝากตามวงเงิน และภายในระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละเดือน จะขาดการฝาก หรือฝากไม่ครบตามวงเงินที่กำหนด หรือฝากล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด กรณีใดกรณีหนึ่งหรือทุกกรณีรวมกันเกินสองเดือนไม่ได้

ข้อ 4 ชื่อบัญชีเงินฝากจะต้องเป็นชื่อของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากนั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

ข้อ 7 ผู้ฝากเงินต้องแจ้งเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนของตนต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ผู้รับฝากเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว กรณีที่ผู้ฝากเงินตามวรรคหนึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน  ให้แจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ผู้รับฝากเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว

ข้อ 8 สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากหรือผลตอบแทนเงินฝากตามข้อ  2 ต้องส่งข้อมูลของผู้ฝากเงินต่อสำนักงาน สรรพากรพื้นที่ ในเขตท้องที่ที่สหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ย  หรือผลตอบแทนเงินฝากตั้งอยู่แล้วแต่กรณี

 

ข้อ 5 (2) ในกรณีบิดาหรือมารดาเป็นผู้ฝากเงินเพื่อบุตรผู้เยาว์ ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของบุตรผู้เยาว์ บุตรผู้เยาว์ในวรรคหนึ่งให้หมายความ รวมถึงบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ด้วยโดยอนุโลม

 

มาตรา ๓๓ สหกรณ์จะตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และต้อง (๒) มีสมาชิกเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ

มาตรา ๔๑ สหกรณ์ตามมาตรา ๓๓/๑ อาจรับสมาชิกสมทบได้

สมาชิกสมทบต้องเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งบรรลุนิติภาวะ เว้นแต่สหกรณ์ตาม มาตรา ๓๓/๑ (๔) (๖) หรือ (๗) ที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาอาจรับผู้ศึกษาในสถานศึกษานั้นซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะให้เป็นสมาชิกสมทบได้

สมาชิกสมทบต้องมีความสัมพันธ์กับสหกรณ์หรือสมาชิกสหกรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนสหกรณ์ประกาศกำหนด...

มาตรา ๔๖ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้

(๕) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อ 7 การเก็บรักษาเงินของวัดในส่วนที่เกินหนึ่งแสนบาทขึ้นไป ให้เก็บรักษาโดยฝากธนาคารในนามของวัด หรือวิธีการอื่นใดตามที่มหาเถรสมาคมกำหนด การดูแลรักษาและจัดการเงินการกุศลที่มีผู้บริจาค ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค

 

 

ข้อ 6 ให้สถานศึกษาเก็บรักษาเงินสดไว้เพื่อสำรองไข้จ่ายได้ภายในวงเงินที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง นอกนั้นให้นำฝากกระทรวงการคลังหรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี หรือนำฝากธนาคารพาณิชย์ตามวงเงินที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ

 

 

 

 

 

 

 

เงินรายได้สถานศึกษาส่วนที่เกินวงเงินเก็บรักษา กรณีโรงเรียนให้นำเงินรายได้สถานศึกษาสวนที่เกิน ฝากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือโรงเรียนที่เป็นหน่วยเบิกเงิน ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาสวนที่เกิน ฝากกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด หรือสำนักงานคลังจังหวัด ณ อำเภอแล้วแต่กรณี ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารถือเป็นเงินรายได้สถานศึกษา ให้นำเงินรายได้สถานศึกษาฝากธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเดียวกันกับท้องที่ตั้งของโรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หากท้องที่นั้นไม่มีธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจให้บริการก็ให้นำฝากธนาคารพาณิชย์อื่นภายในท้องที่อำเภอเดียวกัน ได้ สำหรับประเภทเงินฝาก ให้อยู่ในดุลพินิจของโรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญ

 

ข้อ 20 วรรคสาม ...หากมีจำนวนเงินสดที่เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยตามวรรคหนึ่ง ให้นำฝากธนาคารทั้งจำนวนในวันทำการถัดไป กรณีเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีพื้นที่ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวกไม่สามารถนำฝากธนาคารได้เป็นประจำทุกวันให้เก็บรักษาเงินสดในตู้นิรภัยได้ และให้นำเงินสดดังกล่าวฝากธนาคารในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์

 

 

 

 

 

ข้อ ๑๐ ใหคณะกรรมการกองทุนหมูบาน รับสมัครสมาชิก และเปดบัญชีกองทุนหมูบาน

(บัญชีที่ ๑) ภายใตชื่อบัญชี “กองทุนหมูบ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองแล้วแตกรณี (ชื่อบ้านหรือชื่อชุมชน...........................หมูที่............ตําบล/แขวง........................อําเภอ/เขต............................จังหวัด.....................)” ไวกับธนาคาร เพื่อรับโอนเงินที่ไดรับจัดสรรจากคณะกรรมการ และเปดบัญชีเงินสะสม (บัญชีที่ ๒) เพื่อรองรับเงินฝากของสมาชิก

 

 

มาตรา 46 เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ได้

(5) รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

(9) ดำเนินกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับ หรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

 

 

 

 

 

มาตรา 39

"คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล " หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกัน อันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ

 

- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๖๔) พ.ศ. ๒๕๖๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 351)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 228)

 

- พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. กฎกระทรวงการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด พ.ศ. 2564

 

 

6. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2549

 

7. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา ที่ ศธ 04002/383 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2549

 

 

 

 

 

 

8. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงินและการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

9. ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑

 

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10. ประมวลรัษฎากร

 

- เรื่องการรับฝากเงินจากบุคคลภายนอก ตัวแทนคือ คกก. ผจก. จนท. กระทำนอกเหนืออำนาจของตัวการ คือสหกรณ์ ไม่ผูกพันตัวการ เว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบัน 823 812

- แต่กรณีนี้ พรบ สหกรณ์ กำหนดชัดแจ้งว่า มีอำนาจรับฝากเงินจากสมาชิกหรือนิติบุคคล… 46 (5) ส่งผลให้ตัวการ คือสหกรณ์ ไม่อาจให้สัตยาบันได้อย่างแน่แท้ เพราะถึงแม้จะให้สัตยาบันก็ส่งผลให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ปพพ 150

- คู่กรณีกลับสู่ฐานะเดิม และนำเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ

พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 46 (5) ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์หรือประเภทประจำจากสมาชิกหรือสหกรณ์อื่น หรือสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีสมาชิกของสมาคมนั้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน หรือนิติบุคคลซึ่งมีบุคลากรหรือลูกจ้างไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของนิติบุคคลนั้น เป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้รับฝากเงิน ทั้งนี้ตามระเบียบของสหกรณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์

ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องคำนิยามวงเงินการกู้ยืมหรือการค้ำประกันของสหกรณ์ ข้อ 3 กำหนดว่า จำนวนเงินที่รับฝากจากสหกรณ์อื่น ถือเป็นจำนวนเงินที่สหกรณ์ได้ก่อหนี้ภาระผูกพันแล้วซึ่งไม่นับรวมจำนวนเงินที่ชุมนุมสหกรณ์รับฝากจากสหกรณ์สมาชิก ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ไม่ได้กำหนดว่าเงินรับฝากจากสมาชิกถือเป็นจำนวนเงินที่สหกรณ์ได้ก่อหนี้ภาระผูกพันแล้ว

แม้ในทางบัญชีเงินรับฝากกสมาชิกจะถือเป็นหนี้สิน แต่ก็ถือเป็นทุนภายในที่มาจากสมาชิกซึ่งเป็นเจ้าของสหกรณ์ การใช้ทุนภายในมาเป็นทุนดำเนินงานของสหกรณ์จึงเป็นไปตามอุดมการณ์สหกรณ์ที่ว่า การช่วยเหลือตนเอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งความกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรม และเกิดสันติสุข แต่ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวต้องคำนึงถึงกฎหมาย ระเบียบ ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมภิบาล และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลสมาชิก ซึ่งรายละเอียดต่อไปนี้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจรับฝากเงินของสหกรณ์ 

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จในสหกรณ์

 1. ประเด็นปัญหาและข้อเท็จจริง

          สหกรณ์จ้างลูกจ้างเป็นพนักงานบริการเติมน้ำมัน หรือเด็กปั้ม (เรียกอย่างไรดูสัญญาจ้าง) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 โดยทำสัญญาจ้างปีต่อปี (ต่อสัญญาทุกปี) ลูกจ้างดังกล่าวมีอายุงานถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 จำนวน 13 ปี 242 วัน เมื่อสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2566 สหกรณ์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างดังกล่าวต่อไป จึงมีประเด็นให้วินิจฉัยว่า

1.1) กรณีดังกล่าว เป็นการเลิกจ้างตามระเบียบสหกรณ์ฯ หรือไม่

1.2) กรณีดังกล่าวสหกรณ์จะต้องจ่ายค่าชดเชย และ/หรือ เงินบำเหน็จ หรือไม่ อย่างไร จึงจะถูกต้องเป็นไปตามระเบียบสหกรณ์ ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับว่าด้วยการทำงาน และ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไข

2. ข้อกฎหมาย

          สหกรณ์การเกษตร ก. จำกัด กำหนดระเบียบว่าด้วยเจ้าหน้าที่และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตามมาตรา 108 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไข ในระเบียบดังกล่าว หมวดบำเหน็จ ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ กำหนดให้สหกรณ์จะจ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง ชึ่งหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยสหกรณ์กำหนดสอดคล้องเป็นไปตามมาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยกำหนดนิยามและเงื่อนไขการจ่าย ว่า

การเลิกจ้าง หมายความว่า การกระทําใดที่สหกรณ์ไม่ให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างทํางานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างไม่ได้ทํางานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินกิจการต่อไป

ความในวรรคสองมิให้ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้างที่มีกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และเลิกจ้างตามกําหนดระยะเวลานั้น

การจ้างที่มีกําหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทําได้สําหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของสหกรณ์ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกําหนดการสิ้นสุด หรือความสําเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จ ภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยสหกรณ์และเจ้าหน้าที่และลูกจ้างได้ทําสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง ชึ่งข้อความดังกล่าวสอดคล้องเป็นไปตาม มาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

นอกจากค่าชดเชยแล้วสหกรณ์ยังกำหนดไว้ในระเบียบฯ ให้ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์คนใดทำงานในสหกรณ์ด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าห้าปีขึ้นไปมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากตำแหน่ง โดยกำหนดว่า

การคำนวณเงินบำเหน็จให้เอาเงินเดือนเดือนสุดท้ายตั้งคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน ในสหกรณ์ เศษของปีถ้าถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันให้นับเป็นหนึ่งปี ถ้าต่ำกว่านี้ให้ปัดทิ้ง

จำนวนปีที่ทำงาน หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่วันบรรจุ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์เข้าทำงานในสหกรณ์จนถึงวันที่ออกจากงานหักด้วยวันลาของผู้นั้น ในกรณีคำนวณเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีจำนวนมากกว่าเงินชดเชยที่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์พึงได้รับ ตามข้อ ... (การจ่ายค่าชดเชย) ให้สหกรณ์จ่ายเงินบำเหน็จเพิ่มได้เฉพาะส่วนที่เกินกว่าเงินชดเชยเท่านั้น

เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์ซึ่งออกจากตำแหน่งเพราะตาย สหกรณ์จะจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่ทายาท

สหกรณ์จะไม่จ่ายบำเหน็จให้เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์ในกรณี ดังต่อไปนี้

          (1) ถูกไล่ออก

          (2) เลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างแน่นอน

          (3) เงินชดเชยที่เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์พึงได้รับมีจำนวนมากกว่าจำนวนเงินบำเหน็จที่คำนวณได้ตามระเบียบนี้

การกำหนดเรื่องการจ่ายเงินเหน็จของสหกรณ์ตามที่กล่าวมาจะเห็นว่า การที่สหกรณ์จะไม่จ่ายบำเหน็จให้เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสหกรณ์ในกรณี (2) เลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างแน่นอน ข้อความนี้สหกรณ์มิได้ให้คำนิยามไว้ ตลอดจนในบทเฉพาะการของระเบียบฯ กำหนดว่า

ข้อ...ในกรณีที่การบรรจุหรือแต่งตั้ง หรือเลื่อนตำแหน่ง และทางสหกรณ์ไม่ได้ทำสัญญาตกลงการจ้าง ก็ให้ถือว่าข้อบังคับการทำงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง หากมีการทำข้อตกลงการจ้าง ก็ให้ยึดถือข้อตกลงการจ้างนั้นเป็นการเฉพาะได้แต่ทั้งนี้ข้อตกลงการจ้างต้องไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ โดยระเบียบสหกรณ์ ให้คำนิยามไว้ว่า “ลูกจ้าง” หมายถึง ลูกจ้างชั้นหนึ่ง และลูกจ้างชั้นสองหรือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้สหกรณ์โดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร) ซึ่งข้อความดังกล่าว สอดคล้องเป็นไปตาม มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไข ที่กำหนดว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง

(1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง

(2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย

"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร

"สัญญาจ้าง" หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้

"ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

บทเฉพาะการของระเบียบฯ กำหนดอีกว่า

ข้อ...ข้อตกลงใดที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ

ข้อ...การแก้ไขระเบียบนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ โดยมีสาระสำคัญหลายประการที่เป็นคุณ และเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างเฉพาะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับและ ที่ได้รับสิทธิไปแล้วก่อนหน้านี้ถือว่าได้รับการคุ้มครองตามระเบียบนี้

“เลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างแน่นอน” ในระเบียบฯ จึงมีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 วรรคท้าย ที่กำหนดว่า “การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

อนึ่ง งานที่มีลักษณะเป็นการ “จ้างทำของ” ตาม มาตรา 587 ที่มิใช่การจ้างงานตาม มาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และระเบียบฯ ว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้างของสหกรณ์ โดยระเบียบสหกรณ์ฯ ว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้างของสหกรณ์ กำหนดว่า “การจ้าง” หมายความว่า “การจัดจ้างทำพัสดุ และหมายความรวมถึงการจัดจ้างทำของ การรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการจ้างเหมาบริการ”

การจ้างทำของในสหกรณ์ ต้องพึงระวังไม่ให้เข้าข่ายเป็นการหลีกเลี่ยงการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณา ได้แก่ มาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กำหนดสาระสำคัญของการจ้างแรงงานว่า เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ ผลสำเร็จของงานจึงไม่เป็นสาระสำคัญในการจ่ายค่าจ้าง และระหว่างการทำงานนายจ้างมีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาลูกจ้างได้ ส่วนการจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับจ้างทำการงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแก่การงานที่ทำนั้น ผลสำเร็จของการงานที่รับจ้างจึงเป็นสาระสำคัญในการรับสินจ้าง และระหว่างทำงานผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาได้

เมื่อมีการจ้างทำของในสหกรณ์ สหกรณ์ก็ไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เช่น เรื่องการลา การทำงานล่วงเวลา เรื่องค่าชดเชย ฯลฯ และไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่สหกรณ์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และระเบียบสหกรณ์ฯ ว่าด้วยการจัดซื้อและจัดจ้างของสหกรณ์ โดยดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำโครงการหรือแผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ (ยกเว้นกรณีเร่งด่วน ถ้าหากล่าช้าอาจเกิดความเสียหายแก่สหกรณ์ อาจดำเนินการไปก่อนได้ และรายงานให้ที่ประชุมใหญ่ทราบในคราวประชุมใหญ่ฯ ครั้งต่อไป) การกำหนดวิธีการจัดจ้าง การจัดทำรายงานขอจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุผลและความจำเป็นในการจ้าง รายละเอียดของงานที่จะจ้าง วงเงินในการจ้าง กำหนดเวลาให้งานแล้วเสร็จ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำหน้าที่พิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามวิธีการจัดจ้างต่าง ๆ เช่น การจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ การตรวจการจ้าง การทำสัญญาจ้าง และการกำหนดค่าปรับ เป็นต้น

3. ข้อวินิจฉัย

          3.1) กรณีตามประเด็นปัญหาและข้อเท็จจริง เข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบสหกรณ์ และตาม มาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไข เพราะสหกรณ์ฯ ดำเนินธุรกิจปั้มน้ำมัน (จัดหาสินค้ามาจำหน่าย) ซึ่งเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง การที่สหกรณ์จ้างลูกจ้างมาทำหน้าที่ให้บริการเติมน้ำมัน จึงเข้าข่ายเป็นการจ้างงานตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และไม่เข้าข่าย เลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างแน่นอน เพราะธุรกิจปั้มน้ำมันของสหกรณ์ไม่ใช่การจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง”

          3.2) เมื่อเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ใช่เลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างแน่นอน สหกรณ์ต้องจ่ายค่าชดเชยตามระเบียบฯ ที่กำหนด

          3.3) เมื่อเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ใช่เลิกจ้างตามสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างแน่นอน สหกรณ์ต้องจ่ายค่าเงินบำเหน็จตามระเบียบฯ ที่กำหนด

          อนึ่ง มาตรา 144 แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไข กำหนดว่า นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(1) มาตรา 118 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ 147/2563

คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562-ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การจัดสรรกำไรของวิสาหกิจที่ไม่แสวงหากำไรอย่างสหกรณ์

 สหกรณ์คืออะไร

องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล (International Cooperative Alliance: ICA) อธิบายไว้ว่า สหกรณ์เป็นสมาคมอิสระของบุคคลที่รวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อตอบสนองความต้องการและแรงบันดาลใจทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมร่วมกันผ่านวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกันและควบคุมกันเองตามระบอบประชาธิปไตย ด้วยค่านิยมของสหกรณ์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าของการช่วยเหลือตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเอง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตามประเพณีของผู้ก่อตั้ง สมาชิกสหกรณ์เชื่อในคุณค่าทางจริยธรรมของความซื่อสัตย์ ความเปิดเผย ความรับผิดชอบต่อสังคม และการเอื้ออาทรต่อผู้อื่น

 

ICA ยังอธิบายว่า สหกรณ์เป็นวิสาหกิจที่มีสมาชิกเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นเจ้าของ ควบคุม และดำเนินการโดยสมาชิก เพื่อให้สมาชิกตระหนักถึงเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ร่วมกัน สหกรณ์นำผู้คนมารวมกันในวิถีทางประชาธิปไตยและเท่าเทียมกัน สหกรณ์บริหารจัดการตามระบอบประชาธิปไตยโดยใช้หลักการ หนึ่งคน หนึ่งเสี่ยงสมาชิกมีสิทธิออกเสียงเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงจำนวนหุ้นที่สมาชิกถือไว้ในสหกรณ์

 

วิสาหกิจแบบสหกรณ์ขับเคลื่อนด้วยคุณค่าสหกรณ์ ไม่ใช่แค่เรื่องผลกำไร ความเป็นธรรม ความเสมอภาค และความยุติธรรมทางสังคมเป็นหัวใจของสหกรณ์ สมาชิกร่วมกันกำหนดอนาคตทางเศรษฐกิจของพวกเขา การถือหุ้นของสมาชิกไม่ได้แสดงความเป็นเจ้าของสหกรณ์อย่างเด่นชัด แต่การร่วมกันดำเนินธุรกิจจนเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแสดงความเป็นเจ้าของสหกรณ์ ผลกำไรที่เกิดขึ้นจะถูกนำกลับไปลงทุนในสหกรณ์ และกลับคืนให้กับสมาชิกเพื่อเป็นสิ่งตอบแทน

 

NEBRASKA COOPERATIVE DEVELOPMENT CENTER แห่ง UNIVERSITY of NEBRASKA–LINCOLN ให้ความหมายว่า สหกรณ์คือสมาคมของบุคคล (องค์กร) ที่ประชาชนเป็นเจ้าของและควบคุมเพื่อตอบสนองความต้องการและแรงบันดาลใจทางเศรษฐกิจ สังคม และ/หรือวัฒนธรรมร่วมกันผ่านธุรกิจ (องค์กร) ที่เป็นเจ้าของร่วมกันและควบคุมตามระบอบประชาธิปไตย คนของสหกรณ์คือผู้ใช้สินค้า พัสดุ และ/หรือบริการของสหกรณ์ ผลกำไรมักจะถูกส่งคืนให้กับสมาชิกของสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม สหกรณ์มักจะเน้นการบริการสำหรับสมาชิกมากกว่าการลงทุน

 

UNIVERSITY of ALASKA ANCHORAGE อธิบายว่า สหกรณ์เป็นกิจการของสมาชิกผู้เป็นเจ้าของสหกรณ์ สหกรณ์ถูกควบคุมตามระบอบประชาธิปไตยโดยสมาชิก สหกรณ์ดำเนินธุรกิจโดยให้บริการแก่สมาชิกเท่านั้น รายได้ที่สหกรณ์สร้างขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกร่วมกัน

 

พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภการเกื้อหนุนประชาราษฎร์ ซึ่งประกอบกสิกรรมการค้าขาย ทรงพระราชดำริว่า สหกรณ์คือสมาคมชนิดที่ราษฎรผู้ทำการเพาะปลูกแลหากินด้วยการทำของขายรวบรวมกันตั้งขึ้นเพื่อยังความจำเริญให้เกิดแก่หมู่ด้วยวิธีรวมกำลังกันทำการบำรุงตนเองแลประหยัดการใช้จ่ายแต่ที่พอควร มิใช่ตั้งขึ้นเพื่อจะหากำไรมาจำแนกในหมู่สมาชิกนั้น (พ.ร.บ. สมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459)

 

อาบ นคะจัด (2536) อธิบายว่า สหกรณ์คือองค์กรธุรกิจประเภทหนึ่งในระบบเศรษฐกิจการตลาดของประเทศไทย มีลักษณะคล้ายกับหุ้นส่วนและบริษัท ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ องค์การธุรกิจนิติบุคคลตามกฎหมายสหกรณ์ต่างจากองค์กรธุรกิจตาม ป.พ.พ. ในเรื่องสำคัญคือ วัตถุประสงค์และหลักการขององค์การธุรกิจต่างกัน และตั้งขึ้นตามกฎหมายที่ต่างกัน สหกรณ์มีวัตถุประสงค์ “เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ส่วนวัตถุประสงค์ของหุ้นส่วนและบริษัทคือ “ประสงค์จะแบ่งกำไรอันพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น” แม้กฎหมายสหกรณ์จะกำหนดเรื่องการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ แต่คำว่ากำไรสุทธิที่บัญญัตินั้นเป็นเพียงคำศัพท์ทางการบัญชี ไม่ใช่กำไรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 เพราะในสหกรณ์เจ้าของและลูกค้าคือบุคคลคนเดียวกัน ราคาสินค้าและบริการที่สหกรณ์กำหนดขึ้น คือค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่สหกรณ์เรียกจากสมาชิก เมื่อสิ้นปีการบัญชี หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว มีเงินเหลือจ่ายสุทธิ (กำไรสุทธิ) เท่าใด จึงต้องจัดสรรตามกฎหมายสหกรณ์

 

นุกูล กรยืนยงค์ (2554) อธิบายว่า สหกรณ์มีความแตกต่างจากธุรกิจอื่นตรงที่การรวมตัวกันของประชาชนเพื่อ ก่อตั้งสหกรณ์ และนำเงินมาลงทุนร่วมกันนั้น มิใช่เพื่อทำการค้ากับบุคคลอื่น หากแต่เป็นเพราะต้องการใช้สินค้าหรือบริการนั้นสำหรับตนเองเป็นประการสำคัญ มุ่งให้บริการแก่สมาชิกเป็นหลัก เป็นการสร้างประโยชน์ขึ้นแก่ตนเอง บริการตนเองโดยการร่วมกันทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ มิใช่เป็นการเรียกร้องจากผู้อื่น สหกรณ์ผู้บริโภคไม่จำเป็นที่จะต้องแสวงหาผลกำไรจากการทำธุรกิจ เนื่องจากทั้งเจ้าของและผู้ใช้บริการ (ลูกค้า) เป็นคนเดียวกัน หรือในกรณีที่เป็นสหกรณ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อการผลิตโดยมีสมาชิกเป็นเจ้าของและผู้ใช้แรงงาน ก็ย่อมไม่มีความจำเป็นที่เจ้าของจะเอาเปรียบผู้ใช้แรงงานเพราะเป็นคนเดียวกัน ไม่ว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะตกแก่เจ้าของ หรือแรงงาน ก็ย่อมเป็นของคนเดียวกันทั้งหมด

 

จากความหมายและคำอธิบายเกี่ยวกับสหกรณ์ สรุปได้ว่า สหกรณ์ไม่ใช่วิสาหกิจแสวงหากำไรสูงสุดแบบองค์กรที่ดําเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ที่มุ่งผลกำไรสูงสุดเพื่อความมั่งคั่ง แต่สหกรณ์เป็นรูปแบบการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้คนที่มารวมตัวกันเป็นองค์กรธุรกิจ โดยผู้คนที่มารวมตัวกันเป็นสหกรณ์นั้น เป็นผู้ที่มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม มีความต้องการเหมือนกัน คล้ายกัน มีความเชื่อร่วมกันเกี่ยวกับการพึ่งพาช่วยเหลือตนเองและระหว่างกัน มุ่งใช้การสหกรณ์ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจในสังคม ให้ความสำคัญของพลังการรวมคนมากกว่าพลังการรวมเงินหรือทรัพย์สิน เน้นการดำเนินธุรกิจระหว่างกันเองของสมาชิก

 

ด้วยสหกรณ์เป็นวิสาหกิจไม่แสวงหากำไร จึงได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร (ม. 39 ประกอบกับมาตรา 69 ทวิ) เพราะสหกรณ์ดำเนินธุรกิจระหว่างสมาชิกด้วยกันเองภายในสหกรณ์ ตามหลักการสหกรณ์ หลักการที่ 3 ที่กำหนดว่า การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจไตยของสมาชิก (Member Economic Participation) มวลสมาชิกพึงร่วมทุนกับสหกรณ์ของตนอย่างเท่าเทียมกัน และควบคุมการใช้เงินทุนตามวิถีประชาธิปไตย โดยปกติอย่างน้อยส่วนหนึ่งของทุนต้องมีทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์ และสมาชิกพึงได้รับผลตอบแทนจากเงินทุน (ถ้ามี) อย่างจํากัด ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นสมาชิก เหล่าสมาชิก จะจัดสรรเงินส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่างหรือทั้งหมดดังต่อไปนี้ คือ เพื่อพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยอาจจัดเป็นกองทุนสํารองซึ่งอย่างน้อยส่วนหนึ่งจะไม่นํามาแบ่งปันกัน เพื่อจัดสรรผลประโยชน์ให้สมาชิกตามส่วนธุรกรรมที่ตนทํากับสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่น ๆ ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

 

เจตนารมณ์การจัดสรรกำไรในสหกรณ์

 

ปรีชา สุวรรณทัต และทรงพล พนาวงศ์ (2555) อธิบายเรื่องการกำไรและการจัดสรรกำไรในสหกรณ์ ซึ่งการอธิบายดังกล่าวเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่สำคัญของกฎหมายสหกรณ์ มาตราที่ว่าด้วยการจัดสรรกำไรของสหกรณ์ โดยอธิบายว่า การจัดสรรกําไรสุทธิตามหลักการของการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก จะต้องคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและด้วยความเป็นธรรมในหมู่สมาชิก เพราะสหกรณ์นั้นตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหวังที่จะร่วมมือกันในการช่วยแก้ไขปัญหาในด้านเศรษฐกิจ มิได้มุ่งดําเนินการเพื่อแสวงหากําไรมาแบ่งปันกัน ดังนั้น ตามหลักการสหกรณ์จึงกําหนดแนวทางการจัดสรรกําไรหรือเงินส่วนเกิน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่าง ดังนี้คือ

1) เพื่อการพัฒนาสหกรณ์โดยอาจกันเงินเป็นเงินสํารอง ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีส่วนหนึ่งที่นํามาแบ่งปันกันไม่ได้

2) เพื่อตอบแทนแก่สมาชิกตามสัดส่วนของปริมาณธุรกิจที่สมาชิกได้ทํากับสหกรณ์

3) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

ปรีชา สุวรรณทัต และทรงพล พนาวงศ์ ยังอธิบายเรื่องการจัดสรรกำไรสุทธิเป็นเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน ว่าจัดสรรเป็นเงินปันผลตามหุ้นของสมาชิกที่ชําระแล้ว เพื่อเป็นการตอบแทนสมาชิกที่ลงทุนถือหุ้นในสหกรณ์ แต่โดยเหตุที่ตามหลักสหกรณ์ไม่มีจุดมุ่งหมายให้สมาชิกมาแสวงหากําไรจากการนําเงินมาลงทุนในสหกรณ์เหมือนกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ดังนั้น หลักสหกรณ์ โดยทั่วไปจะจํากัดดอกเบี้ยที่ให้กับทุนเรือนหุ้น ซึ่งโดยปกติสหกรณ์ควรจ่ายเงินปันผลตามหุ้นให้แก่ สมาชิกในอัตราไม่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ สําหรับกฎหมายสหกรณ์กําหนดให้สหกรณ์จ่ายเงินปันผลตามหุ้นไม่เกินอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวงสําหรับสหกรณ์แต่ละประเภท ซึ่งปัจจุบันกำหมายกำหนดไว้ไม่เกินร้อยละสิบต่อปี

 

ทั้งนี้การคำนวณเงินปันผลต้องคิดตามส่วนแห่งระยะเวลาการถือหุ้นของสมาชิกแต่ละคนด้วยจึงจะเกิดความเป็นธรรมสูงสุด

 

ส่วนจัดสรรเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้ทําไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปี เพื่อเป็นการจัดสรรรายได้สุทธิ (กําไร) โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและความเป็นธรรมในหมู่สมาชิก เพราะสมาชิกทําธุรกิจกับสหกรณ์ จึงทําให้เกิดกําไรหรือเงินส่วนเกินขึ้น ดังนั้น การแบ่งกําไรของสหกรณ์จึงเท่ากับการจ่ายคืนส่วนที่สหกรณ์รับเกินให้สมาชิกในรูปการจ่ายเงินคืนตามส่วนปริมาณธุรกิจที่สมาชิกทําไว้กับสหกรณ์

 

อนึ่ง หากสหกรณ์มีกำไรกฎหมายกำหนดให้ (บังคับ) สหกรณ์ต้องจัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของกำไรสุทธิ และเป็นค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิ ปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดอัตราไม่เกินร้อยละหนึ่งของกำไรสุทธิ แตไม่เกินสามหมื่นบาท

 

สรุป

ระบบเศรษฐกิจแบบสหกรณ์ มีแนวทางชัดเจนในการลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการสะสมกำไรส่วนเกินที่มาจากการสร้างกำไรจากการลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะด้านแรงงาน ด้านการแย่งชิงเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นปัจจัยการผลิตให้ได้มากที่สุด ตลอดจนด้านการขายสินค้าและบริการให้ได้มากที่สุด ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าระบบเศรษฐกิจแบบสหกรณ์มุ่งแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นอกจากสหกรณ์มุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากการสะสมกำไรส่วนเกินดังกล่าวแล้ว ยังหนุนเสริมความเท่าเทียม ความเป็นธรรมทางด้านเศรษฐกิจ โดยไม่ไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของสมาชิกในด้านความสัมพันธ์ทางการผลิต กล่าวคือปัจจัยการผลิตทั้งหมด เช่น เครื่องจักร ป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ฯลฯ ของบรรดาสมาชิก ยังคงเป็นกรรมสิทธิของสมาชิก ขณะเดียวกันปัจจัยการผลิตทั้งหมด เช่น เครื่องจักร ป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ของสหกรณ์ก็นับว่าเป็นของสมาชิก โดยสมาชิกทั้งหมดร่วมกันเป็นเจ้าของ สมาชิกทั้งหมดมีอำนาจในการบริหารจัดการบรรดาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ตลอดจนบริหารกำไรส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานและดำเนินธุรกิจของสหกรณ์

 

กำไรส่วนเกินที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ ส่วนหนึ่งนำกลับเข้าสู่สหกรณ์ในลักษณะเป็นทุนสำรองเพื่อความมั่นคงของสหกรณ์ ส่วนที่เหลือใช้แบ่งปันกันอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมตามสัดส่วนที่สมาชิกแต่ละคนดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์ เป็นค่าตอบแทนการถือหุ้นของสมาชิกที่ช่วยให้สหกรณ์มีทุนดำเนินงานภายในของตนเอง และอีกส่วนหนึ่งจัดสรรเป็นทุนสะสมต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการช่วยแก้ไขปัญหาสังคมให้แก่สมาชิก และสังคมภายนอก เจตนารมณ์การจัดสรรกำไรในสหกรณ์จึงไม่ใช่เพื่อความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น แต่เป็นการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข ตามอุดมการณ์สหกรณ์ที่เชื่อว่า การช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามหลักการสหกรณ์จะนำไปสู่การกินดี อยู่ดี มีความเป็นธรรม และสันติสุขในสังคม

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...