วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การจัดสวัสดิการที่เข้าข่ายการประกันชีวิตและการประกันภัย

ปัญหาหนี้ค้างนานในสหกรณ์ เป็นที่มาของการคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นานา แม้มีเจตนาดี แต่ก็ต้องไม่ลืมหลักการที่ดีในการบริหารจัดการด้วยนะครับ หลักกฎหมาย หลักความเป็นธรรม หลักความรับผิดชอบ การพิจารณาใช้มาตรการต่าง ๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานประโยชน์ต่อสหกรณ์ และการช่วยเหลือสมาชิก ต้องคำนึงถึงการสร้างวินัยทางการเงินและความเป็นธรรมแก่สมาชิกอื่น ตลอดจนให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

กรณีที่มีการจัดสวัสดิการที่เข้าข่ายการประกันชีวิตและการประกันภัย เช่น การคุ้มครองหนี้ การช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน และการคุ้มครองมูลค่าหุ้น ขอให้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ครับ

1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 861 อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย

มาตรา 862

คำว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้

คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

คำว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้

มาตรา 869 อันคำว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้

มาตรา 889 ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง

2. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 18 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันชีวิตกับบุคคลใด ๆ เว้นแต่จะเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต

3. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 4 "วินาศภัย" หมายความว่า ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่จะพึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์ หรือรายได้ด้วย

มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการเป็นผู้รับประกันภัยโดยทำสัญญาประกันภัยกับบุคคลใด ๆ เว้นแต่จะเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย

4. พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 33 (3) “สหกรณ์จะตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิก โดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และต้อง มีทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน และสมาชิกแต่ละคนจะต้องถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น แต่ไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด”

มาตรา 42 ในการชำระค่าหุ้น สมาชิกจะนำค่าหุ้นหักกลบลบหนี้กับสหกรณ์ไม่ได้และสมาชิกมีความรับผิดเพียง ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

ในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องหรืออายัดค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้น และ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง

สหกรณ์มีสิทธิ์นำเงินตามมูลค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่มาหักกลบลบหนี้ที่สมาชิก ผูกพันต้องชำระหนี้แก่สหกรณ์ได้ และให้สหกรณ์มีสถานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินค่าหุ้นนั้น

มาตรา 43 (5) “ข้อบังคับของสหกรณ์อย่างน้อยต้องมีรายการ ทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้น มูลค่าของหุ้น การชำระค่าหุ้นด้วยเงินหรือทรัพย์สินอื่น การขาย และการโอนหุ้น ตลอดจนการจ่ายคืนค่าหุ้น”

มาตรา 46 (2) “เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการ ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว”

มาตรา 60 (4) การจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ จ่ายเป็นทุนสะสมไว้ เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดของสหกรณ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับ

มาตรา 105/1 เพื่อส่งเสริมระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ ให้ชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศมีอำนาจร่วมกับสหกรณ์สมาชิกของตน จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ของสมาชิกสหกรณ์และครอบครัวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด

5. คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ 278/2549 เรื่อง ให้สหกรร์และชุมนุมสหกรณ์กำหนดเรื่อง การจ่ายคืนหุ้นในกรณีที่ขาดทุนเกินทุนสำรองที่มีอยู่ไว้ในข้อบังคับ

6. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่สมาชิกสหกรณ์และครอบครัวโดยชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศร่วมกับสหกรณ์สมาชิก แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

7. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่สมาชิกสหกรณ์และครอบครัวโดยชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศร่วมกับสหกรณ์สมาชิก พ.ศ. 2564

8. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2563 ข้อ 26 ข้อ 30 ข้อ 31 ข้อ 32 ข้อ 33 และ ข้อ 88

9. ประกาศกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เรื่องการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ พ.ศ. 2563

10. ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่อง การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2563

11. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดชั้นคุณภาพลูกหนี้เงินกู้และการเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ พ.ศ. 2544

12. คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องวิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ พ.ศ. 2547

13. บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการและการสงเคราะห์แก่สมาชิกชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด (เรื่องเสร็จที่ 618/2560)

14. หนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ 1101/1026 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 เรื่อง การจัดสวัสดิการของสหกรณ์ มีลักษณะอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535

15. หนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ 1101.11/830 ลงวันที่ 23 มกราคม 2545 เรื่อง ห้ามสหกรณ์ดำเนินธุรกิจประกันชีวิต

16. หนังสือกรมการประกันภัย ที่ พณ 0503/4330 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2544 เรื่อง ตอบข้อหารือ

17. หนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ 1110/4365 ลงวันที่ 25 เมษายน 2543 เรื่อง แจ้งหลักเกณฑ์การกระทำการเป็นผู้รับประกันภัย โดยมิได้รับใบอนุญาต ของกรมการประกันภัย

18. หนังสือกรมการประกันภัย ที่ พณ 0502/2814 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2548 เรื่อง กองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญ

19. หนังสือกรมการประกันภัย ที่ พณ 0502/2815 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2548 เรื่อง กองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...