วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ที่ปรึกษาของสหกรณ์

"ที่ปรึกษาของสหกรณ์" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการให้ความเห็นหรือคำแนะนำแก่สหกรณ์โดยอาจมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งรับจ้างทำงานให้แก่สหกรณ์โดยมีลักษณะของงานที่ใช้ความรู้ความสามารถพิเศษด้านเทคนิค หรือใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น ที่ปรึกษางานบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ข้อ 1 แห่ง กฎกระทรวงการดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564)

ให้คณะกรรมการของสหกรณ์ขนาดใหญ่มีอำนาจหน้าที่จัดให้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับจริยธรรมของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ ที่ปรึกษาของสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสหกรณ์ (ข้อ 5 (2) แห่ง กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2564)

การกำกับดูแลด้านธรรมาภิบาลของสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาของสหกรณ์ ให้เป็นไปตาม ข้อ 14 (1) แห่ง กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2564

การป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ในการดำเนินงานของสหกรณ์ ให้เป็นไปตาม ข้อ 18 (2) (3) (4) แห่ง กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2564

ปรึกษาของสหกรณ์ ไม่มีสิทธิได้รับเงินโบนัส เพราะขัดต่อ มาตรา 60 (3) แห่ง พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มีข้อแนะนำในการแต่งตั้งที่ปรึกษา ดังนี้

1. ข้อบังคับของสหกรณ์กำหนดไว้อย่างไร

2. ระเบียบสหกรณ์........................... จำกัด ว่าด้วยที่ปรึกษาของสหกรณ์และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พ.ศ. ........ กำหนดไว้อย่างไร

3. หนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ 1115/5690 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2562 เรื่อง คำแนะนำแนวทางการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์ ซึ่งอ้างถึงหนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ กษ 1108/2791 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 เรื่อง คำแนะนำแนวทางการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์ มีสาระสำคัญดังนี้

1. คุณลักษณะของผู้ทรงคุณวุฒิ

1.1 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน

1.2 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบัญชี

1.3 ผู้ทรงคุณวุฒิค้านการบริหารจัดการ

1.4 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคำเนินธุรกิจ

2. คุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิที่ จะเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

2.1 ไม่ได้เป็นสมาชิกสหกรณ์ เพื่อสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่สหกรณ์หรือคณะกรรมการคำเนินการได้อย่างอิสระ

2.2 มีประสบการณ์และผลงานในด้านการเงิน หรือการบัญชี หรือการบริหารจัดการหรือการดำเนินธุรกิจ เป็นที่ประจักษ์เป็นอย่างดี

3. การตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของสหกรณ์ให้ที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์รับทราบ โดยคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ควรพิจารณาคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิจากคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิในข้อ 2 เป็นหลัก

ไม่มีความคิดเห็น:

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...