วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

“จากเส้นทางสายไหม (Silk Road) สู่เส้นทางสายไหมใหม่ (New Silk Road)”

 สมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great) กษัตริย์กรีกได้เดินทัพจากยุโรปมาเอเชียในสมัยนั้น ทำให้โลกตะวันตกและตะวันออกเชื่อมถึงกันเป็นครั้งแรก ต่อมา ในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ (Emperor Wu of Han) จักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น (Han Dynasty) ได้ส่งเสริมให้มีการค้าขาย-แลกเปลี่ยนสินค้ากับชนเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่บนเส้นทางที่เรียกว่า “ทางสายไหม (Silk Road)” สินค้าที่สำคัญในตอนนั้นก็คือหยกและผ้าไหม

เส้นทางสายไหม เป็นเครือข่ายการค้าโบราณที่เชื่อมต่อชุมชนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ผ่านกองคาราวานพ่อค้าที่เดินทางจากประเทศของตนไปค้าขายยังดินแดนต่าง ๆ เส้นทางสายไหมมีระยะทางยาวกว่า 4 พันไมล์ เริ่มต้นจากเมืองฉางอัน (Chang’an) ทางตอนกลางของประเทศจีน ข้ามผ่านทะเลทรายในเอเชียกลางไปสิ้นสุดที่เมืองแอนติออค (Antioch) ในประเทศตุรกี เส้นทางสายไหมไม่ได้มีเฉพาะเส้นทางบกเท่านั้น ทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ก็มีความสำคัญ โดยได้เชื่อมต่อแผ่นดินจีนกับเมืองท่าต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงภาคใต้ของไทยในสมัยโบราณ ก่อนข้ามผ่านมหาสมุทรอินเดียและทะเลแดงไปบรรจบที่กรุงโรม ศูนย์กลางของโลกในขณะนั้น

เส้นทางสายไหมถูกลดความสำคัญลง เมื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักสำรวจชาวอิตาเลียนค้นพบทวีปอเมริกาใน ค.ศ. 1492 ชาวตะวันตกหันไปแสวงหาความมั่งคั่งจากทวีปใหม่ เกิดเป็นเส้นทางการค้ามหาสมุทรแอตแลนติกที่เชื่อมต่อยุโรป แอฟริกา และอเมริกาเข้าด้วยกัน เส้นทางสายไหมที่มีมาแต่โบราณจึงหมดความสำคัญลงในเวลาต่อมา (https://www.moneybuffalo.in.th/his.../introduction-silk-road)

ปี พ.ศ. 2556 ธานาธิบดี สี จิ้นผิงประกาศยุทศาสตร์การพัฒนา One Belt One Road (OBOR) เพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างจีนกับบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่อยู่บนเส้นทางระหว่างจีนกับยุโรป OBOR แสวงหาการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นนฐานด้านการคมนาคม พลังงาน การค้า และการสื่อสาร รวมทั้งด้านอื่น ๆ มุ่งผลักดันการเชื่อมโยงและเส้นทางการค้าในภูมิภาค เพิ่มบทบาทของบริษัทจีนในเวทีสากล และเพิ่มการเข้าถึงตลาดโลกของจีน เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากยุทธศาสตร์ออกสู่ตลาดโลก (Going Out Strategy) ของจีน

OBOR เปรียบเสมือนเส้นทางสายไหมใหม่ (New Silk Road) ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ วงแหวนเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบก และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 โดยวงแหวนเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบก มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมจีนกับยุโรปผ่านทางเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ส่วนเส้นทางสายไหมทางทะเล จะเชื่อมจีนกับยุโรป ผ่านเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และแอฟริกา นอกจากสองเส้นทางการเชื่อมต่อหลักดังกล่าว OBOR ยังรวมถึงการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ และเส้นทางเพิ่มเติมที่จะเชื่อมต่อกับ 2 ระเบียงเศรษฐกิจสำคัญ

วิสัยทัศน์ OBOR ให้ความสำคัญกับศักยภาพของการขยายความร่วมมือและการลงทุน เพื่อผลประโยชน์ของจีน และของบรรดาประเทศที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานยังอยู่ในระดับด้อยพัฒนา การเพิ่มขึ้นของแหล่งเงินทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานจะได้รับการต้อนรับอย่างดีจากบรรดาประเทศตลอดเส้นทาง OBOR อย่างไรก็ตาม เพื่อให้โครงการฯ จะสามารถบรรลุพันธะสัญญาที่ว่าจะพัฒนาแบบ “ได้กันทั้งสองฝ่าย” (WIN-WIN) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้การไหลเวียนของการเงินโครงการจะมีความยั่งยืน ไม่ก่อผลกระทบอันตราย และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ (Inclusive Development International, Online)

OBOR แบ่งเป็นเส้นทางสายไหมทางบก (Silk Road Economic Belt : One Belt) และเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road : One Road) มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน OBOR จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประชาคมโลก เนื่องจากเป็นนโยบายการพัฒนาที่มีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และเป็นนโยบายที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากที่สุดของโลก ทั้งนี้ เพราะ OBOR เชื่อมโยง 65 ประเทศ ใน 6 ภูมิภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ เอเชียใต้ และยุโรป ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่บน OBOR มีประชากรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 62.3 ของทั้งประชากโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รวมกัน คิดเป็นร้อยละ 30 ของ GDP โลก และมีการบโภคภาคครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 24 ของการบริโภคในครัวเรือนของทั้งโลก และ OBOR จะเป็นโครงการที่ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด (http://www.cuti.chula.ac.th/triresearch/saimai/2/saimai.html)

แม้ประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจใด ๆ ภายใต้โครงการ OBOR แต่ไทยมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการที่จะแสดงบทบาทนำในการเป็นผู้ประสานงานของอาเซียนกับจีน ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงโครงการต่าง ๆ ระหว่างจีน - อาเซียน อันจะเป็นการเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ไทย – จีน ให้แน่นแฟนมากขึ้น (http://www.cuti.chula.ac.th/trir.../saimainew/saimainew.html)

เส้นทางสายไหมใหม่ จะช่วยหนุนเสริมพี่น้องเกษตรไทยได้อย่างไร ขบวนการสหกรณ์ไทยโดยเฉพาะสหกรณ์ภาคการเกษตร มองเรื่องนี้อย่างไร มีการเตรียมตัวอย่างไร ผมว่าน่าสนใจครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...