วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และเหตุผลในการตรากฎหมายสหกรณ์

 ความรู้ความเข้าใจเรื่องการสหกรณ์ (Cooperative Literacy)

ตอนที่ 6 : การสหกรณ์กับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตอนที่ 6.1 : ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และเหตุผลในการตรากฎหมายสหกรณ์ 

1. เสรีภาพของบุคคลในการรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517 มาตรา 44 วรรคแรก บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ หรือหมู่คณะอื่น 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา 37 วรรคแรก บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ หรือหมู่คณะอื่น 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 มาตรา 40 วรรคแรก บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ หรือหมู่คณะอื่น 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 45 วรรคแรก บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 64 วรรคแรก บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 42 วรรคแรก บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น 

2. การส่งเสริมสนับสนุนระบบสหกรณ์ 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492 มาตรา 69 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มพูนผลผลิตทั้งในทางปริมาณและคุณภาพและพึงสนับสนุนการสหกรณ์เพื่อผลเช่นว่านั้นด้วย 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา 67 วรรคสอง รัฐพึ่งคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในด้านการผลิตและการ จำหน่ายผลผลิต โดยวิธีการประกันราคาหรือพยุงราคาตลอดจนการจัดระบบและควบคุมการผลิต และการจำหน่ายให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดหรือโดยวิธีอื่น และพึงส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันเป็นสหกรณ์หรือวิธีอื่น 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 มาตรา 76 วรรคสาม รัฐพึ่งส่งเสริมคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในด้านการผลิต การ เก็บรักษาและการจำหน่ายผลผลิต เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่เป็น เป็นธรรม และพึ่งส่งเสริมให้ เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ดังกล่าวโดยจัดตั้งเป็นสหกรณ์หรือวิธีอื่น 

3. ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 85 รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ ดังต่อไปนี้ (9) ส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เป็นอิสระ และการรวมกลุ่มการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตลอดทั้งการรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อดำเนินกิจการด้านเศรษฐกิจ 

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 75 วรรคสาม รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน 

กฎหมายสหกรณ์ 

- พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471

เหตุผลในการร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 ระบุว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเพาะปลูกและจำพวกอื่น ๆ ที่มีกำลังทรัพย์น้อยแต่มีความต้องการ อย่างเดียวกัน หมู่ชนนั้น ๆ ควรได้รับอุดหนุนให้ตั้งสหกรณ์ขึ้นอีก เพื่อยังให้เกิดการประหยัดทรัพย์ การช่วยซึ่งกันและกันและการช่วยตนเอง เป็นทางอีกทางหนึ่งซึ่งเผยแผ่ความ จำเริญทรัพย์และจำเริญธรรมในบ้านเมืองให้ยิ่งขึ้น 

- พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511

เหตุผลในการร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 กิจการของสหกรณ์ได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ แต่กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2471 และแก้ไขครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ.2477 จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ขึ้นใหม่ให้เหมาะสมแก่กาลสมัย เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้ดีขึ้น 

- พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542

เหตุผลในการร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบสหกรณ์มีความเข้มแข็งและสามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง การบริหารจึงต้องดำเนินการโดยสมาชิกตามวิถีทางประชาธิปไตย อันเป็นการวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของประชาชน และเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติ มาตรา 45 และมาตรา 85 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งกำหนดให้บุคคลมีเสรีภาพ ในการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์โดยรัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ 

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสหกรณ์

- ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสหกรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ให้บุคลมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสหกรณ์ โดยรัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครอง

 

- ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสหกรณ์ตามกฎหมายสหกรณ์ กำหนดให้องค์กรรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่แนะนำ ส่งเสริม กำกับ ดูแลการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมาย และกรอบของอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...