วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

การดำเนินการกรณี สมาชิกสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต และยังคงมีภาระหนี้สินต่อสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร

1. โจทย์: กรณีสมาชิกสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรที่มีภาระหนี้สินต่อสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรจะดำเนินการอย่างไร

กรณีที่ 1 มีทายาทมาขอรับโอนหนี้ โอนหุ้นของสมาชิกผู้เสียชีวิต

กรณีที่ 2 ไม่มีทายาทมาขอรับโอนหนี้ โอนหุ้นของสมาชิกผู้เสียชีวิต

2. ข้อวินิจฉัย:

                2.1 กรณีที่ 1 มีทายาทมาขอรับโอนหนี้ โอนหุ้นของสมาชิกผู้เสียชีวิต

          สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรพิจารณาหนี้สินและหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) ของสมาชิกผู้เสียชีวิต

                    2.1.1 หากหนี้สินน้อยกว่าหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) ให้นำหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) มาหักกลบลบหนี้ แล้วจึงจ่ายหรือโอนหุ้น (กรณีการโอนผู้รับโอนต้องมีสภาพเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ก่อนจึงรับโอนได้) (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) ที่เหลือจากการหักชำระหนี้ให้แก่ทายาท

                    2.1.2 หากหนี้สินมากกว่าหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) ให้นำหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) มาหักกลบลบหนี้ แล้วดำเนินการเรียกรับชำระหนี้ส่วนที่เหลือจากทายาทผู้รับมรดกของผู้เสียชีวิต ทายาทอาจสมัครเป็นสาชิกแล้วรับโอนหนี้ที่เหลือดดยการทำสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่

          2.2 กรณีที่ 2 ไม่มีทายาทมาขอรับโอนหนี้ โอนหุ้นของสมาชิกผู้เสียชีวิต

                   2.2.1 หากหนี้สินน้อยกว่าหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) ให้นำหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) มาหักกลบลบหนี้ แล้วจึงจ่ายหรือโอนหุ้น (กรณีการโอนผู้รับโอนต้องมีสภาพเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ก่อนจึงรับโอนได้) (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) ที่เหลือจากการหักชำระหนี้ให้สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกร (กรณีไม่มีผู้มาแสดงหลักฐานขอรับจริง ๆ) เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องคดี ให้สหกรณ์โอนจำนวนเงินดังกล่าวไปสมทบเป็นทุนสำรองของสหกรณ์ทั้งสิ้น

                   2.2.2 หากหนี้สินมากกว่าหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) ให้นำหุ้น (อาจมีเงินฝาก เงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืน) มาหักกลบลบหนี้ แล้วดำเนินการเรียกรับชำระหนี้ส่วนที่เหลือจากทายาทผู้รับมรดก (หากไม่ทราบหรือสืบแล้วไม่ทราบหรือทายาทไม่เต็มใจ) ให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อทายาทและผู้ค้ำประกัน หากไม่มีทายาทก็ให้ดำเนินการกับผู้ค้ำประกัน 

ตัวอย่าง:

            นาง ก. สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เสียชีวิต ส่งผลให้ขาดจากสมาชิกภาพตามข้อบังคับของกลุ่ม ขณะเสียชีวิตมีหนี้สินต่อกลุ่มฯ จำนวน 95,000.00 บาท มีหุ้น จำนวน 1,013 หุ้น มูลค่า จำนวน 50,650.00 บาท นาย ข. ผู้เป็นสามีสมัครเป็นสมาชิก (จ่ายค่าธรรมเนียมแรกเข้าและถือหุ้นตามข้อบังคับแล้ว) ขอรับโอนหนี้และรับโอนหุ้นของ นาง ก. ภรรยา

          กลุ่มเกษตรกรต้องนำมูลค่าหุ้น จำนวน 50,650.00 บาท มาหักกลบลบหนี้ จำนวน 95,000.00 บาท ของนาง ก. จึงทำให้หนี้ของนาง ก. ผู้เสียชีวิต คงเหลือจำนวน 44,350.00 บาท (การชำระหนี้สินของสมาชิกซึ่งออกจากกลุ่มเกษตรกร สมาชิกซึ่งออกจากกลุ่มเกษตรกรไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ หากมีหนี้สินของตนซึ่งต้องรับผิดชอบต่อกลุ่มเกษตรกรโดยตรงต้องจัดการชำระหนี้สินนั้นโดยสิ้นเชิงทันที ในการนี้กลุ่มเกษตรกรมีอำนาจหักจำนวนเงินซึ่ง กลุ่มเกษตรกรจะต้องจ่ายแก่สมาชิกนั้นเพื่อชำระหนี้สินดังกล่าวได้)

          หลังจากนั้นกลุ่มเกษตรกรจึงทำสัญญาเงินกู้กับนาย ข. จำนวน 44,350.00 บาท โดยนาย ข. ต้องถือหุ้นตามสัดส่วนของเงินกู้ จำนวน 45 หุ้น เป็นเงินจำนวน 2,250.00 บาท (ถือหุ้นตามส่วนแห่งเงินกู้ ในอัตราหนึ่งหุ้นต่อจำนวนเงินกู้ทุก ๆ หนึ่งพันบาทเศษของหนึ่งพันให้ถือเป็นหนึ่งหุ้น)

          อนึ่ง หากนาย ข. ไม่มีเงินชำระค่าหุ้นตามสัดส่วนของเงินกู้ดังกล่าว แล้วขอให้กลุ่มเกษตรกร โอนหนี้และหุ้นของนาง ก. ให้ โดย นาย ข. ประสงค์ทำสัญญาเงินกู้จำนวน 95,000.00 บาท แล้วรับโอนหุ้นจากนาง ก. จำนวน 1,013 หุ้น มูลค่า จำนวน 50,650.00 บาท กรณีนี้ไม่ทำให้คุณภาพหนี้ของกลุ่มฯ ลดลง แต่ถือว่าปฏิบัติไม่เป็นไปตามข้อบังคับของกลุ่มฯ และมีข้อสังเกตว่า นาง ก. เสียชีวิตแล้ว ไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนหุ้นให้ผู้อื่นได้ (การโอนหุ้นต้องทำเป็นหนังสือตามแบบที่กลุ่มเกษตรกรกำหนดไว้ โดยลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน มีพยานอย่างน้อยสองคนรับรองลายมือชื่อนั้น ๆ) และ (สมาชิกผู้โอนไม่มีหนี้สินของตนซึ่งต้องรับผิดต่อกลุ่มเกษตรกรโดยตรง) 

          ข้อสังเกต:

          หากกลุ่มเกษตรกรนำมูลค่าหุ้นของนาง ก. มาหักกลบลบหนี้ออกก่อน แล้วจึงทำสัญญาเงินกู้กับนาย ข. (ผู้รับโอนหนี้) หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 10 ต่อปี เมื่อครับ 1 ปี นาย ข. จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ จำนวน 4,435.00 บาท จ่ายค่าหุ้นตามสัดส่วนของเงินกู้ จำนวน 2,250.00 บาท รวม กรณี นาย ข. มีค่าใช้จ่าย 6,685.00 บาท

          แต่หากนาย ข. รับโอนหุ้นและหนี้ทั้งจำนวน โดยไม่นำมูลค่าหุ้นมาหักกลบลบหนี้ออกก่อน หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 10 ต่อปี เช่นกัน กรณีนี้ เมื่อครับ 1 ปี นาย ข. จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ จำนวน 9,500.00 บาท ซึ่งนาย ข .ต้องจ่ายสูงกว่ากรณีแรก จำนวน 2,815.00 บาท 

หมายเหตุ: เป็นแนวทางตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องนะครับ หากมีปัจจัยอื่น ๆ หรือข้อเท็จจริงอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ต้องพิจารณาเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้ยึดแนวทางอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยครับ

3. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:

1. พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข

มาตรา 42 ในการชำระค่าหุ้น สมาชิกจะนำค่าหุ้นหักกลบลบหนี้กับสหกรณ์ไม่ได้และสมาชิกมีความรับผิดเพียง ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

ในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกยังไม่สิ้นสุดลง ห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องหรืออายัดค่าหุ้นของสมาชิกผู้นั้น และ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง สหกรณ์มีสิทธิ์นำเงินตามมูลค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่มาหักกลบลบหนี้ที่สมาชิก ผูกพันต้องชำระหนี้แก่สหกรณ์ได้ และให้สหกรณ์มีสถานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินค่าหุ้นนั้น

มาตรา 42/2 สมาชิกอาจทำหนังสือตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้รับโอนประโยชน์ในเงินค่า หุ้น เงินฝาก หรือเงินอื่นใดจากสหกรณ์เมื่อตนถึงแก่ความตาย โดยมอบไว้ให้แก่สหกรณ์เป็นหลักฐาน

2. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547

มาตรา 6 ทุนของกลุ่มเกษตรกรใหัแบ่งเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าสัน สมาชิกแต่ละคนต้องถือหุ้น อย่างน้อยหนึ่งหุ้นแต่ไม่เกินหนึ่งในหาของจำนวนหุ้นนั้งหมด และสมาชิกมีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกิน จำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช่ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ

ในการชำระค่าหุ้น สมาชิกจะนำค่าหุ้นหักกลบลบหนี้กับกลุ่มเกษตรกรไม่ได้

3. ข้อบังคับสหกรณ์

ข้อ.....การถือหุ้น

สมาชิกจะโอนหุ้นหรือถอนหุ้นในระหว่างที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้

เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง สหกรณ์มีสิทธินำเงินตามมูลค่าหุ้นที่สมาชิกมีอยู่มา
หักกลบลบหนี้ที่สมาชิกผูกพันต้องชำระหนี้แก่สหกรณ์ได้
และให้สหกรณ์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินค่าหุ้นนั้น

ข้อ....การโอนหุ้นของสมาชิก การโอนหุ้นซึ่งสมาชิกถืออยู่ในสหกรณ์จะทำได้โดยเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) สมาชิกผู้โอนได้ออกจากสหกรณ์ และจะโอนหุ้นซึ่งชำระเต็มมูลค่าแล้วเท่านั้น

(2) สมาชิกผู้โอนไม่มีหนี้สินของตนซึ่งต้องรับผิดชอบต่อสหกรณ์โดยตรง

(3) ผู้รับโอนต้องเป็นสมาชิกในสหกรณ์นี้ หรือผู้สมัครซึ่งคณะกรรมการดำเนินการตกลงให้รับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว

การโอนหุ้นต้องทำเป็นหนังสือตามแบบที่สหกรณ์กำหนดไว้ โดยลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน มีพยานอย่างน้อยสองคนรับรองลายมือชื่อนั้น ๆ

เมื่อสหกรณ์ได้สอบสวนพิจารณาแล้วปรากฏว่า การโอนหุ้นได้กระทำโดยถูกต้องและครบถ้วนตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น และได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและที่อยู่ของผู้รับโอนลงในทะเบียนหุ้นแล้วเสร็จ จึงเป็นอันรับรองการโอนหุ้นนั้น ๆ

ข้อ...การหักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกต้องรับผิดต่อสหกรณ์ ในการจ่ายคืนจำนวนเงินของสมาชิกตามข้อ ... นั้น ให้สหกรณ์หักจำนวนเงินซึ่งสมาชิกต้องรับผิดต่อสหกรณ์ออกก่อน

ข้อ...การตั้งผู้รับโอนประโยชน์ ...เมื่อสมาชิกตาย ให้สหกรณ์แจ้งให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคก่อนทราบ  สหกรณ์จะจ่ายค่าหุ้น เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่สมาชิกนั้นมีอยู่ในสหกรณ์คืนให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้  หรือถ้ามิได้ตั้งไว้ ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจของคณะกรรมการดำเนินการว่าเป็นทายาทของผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อ  ...และข้อ ...

ให้ผู้รับโอนประโยชน์ตามความในวรรคแรก ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ต่อสหกรณ์ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่สมาชิกตายหรือได้รับแจ้งจากสหกรณ์ โดยให้แนบสำเนามรณบัตรที่ทางราชการออกให้แสดงว่าสมาชิกนั้น ๆ ได้ถึงแก่ความตายไปประกอบการพิจารณาด้วย เมื่อคณะกรรมการดำเนินการได้พิจารณาและอนุมัติแล้ว  สหกรณ์จะจ่ายเงินผลประโยชน์ดังกล่าวภายในสี่สิบห้าวัน ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินผลประโยชน์ไม่ยื่นคำขอรับเงินผลประโยชน์ หรือผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับโอนประโยชน์ที่สมาชิก

ได้จัดทำให้สหกรณ์ถือไว้ไม่มีตัวอยู่ก็ดี  เมื่อพ้นกำหนดอายุความฟ้องคดี ให้สหกรณ์โอนจำนวนเงินดังกล่าวไปสมทบเป็นทุนสำรองของสหกรณ์ทั้งสิ้น

4. ข้อบังคับกลุ่มเกษตรกร

ข้อ...การชำระหนี้สินของสมาชิกซึ่งออกจากกลุ่มเกษตรกร สมาชิกซึ่งออกจากกลุ่มเกษตรกรไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ หากมีหนี้สินของตนซึ่งต้องรับผิดชอบต่อกลุ่มเกษตรกรโดยตรงต้องจัดการชำระหนี้สินนั้นโดยสิ้นเชิงทันที ในการนี้กลุ่มเกษตรกรมีอำนาจหักจำนวนเงินซึ่ง กลุ่มเกษตรกรจะต้องจ่ายแก่สมาชิกนั้นเพื่อชำระหนี้สินดังกล่าวได้

          ข้อ...การโอนหุ้นของสมาชิกซึ่งออกหรือจะออกจากกลุ่มเกษตรกร การโอนหุ้นซึ่งถืออยู่ในกลุ่มเกษตรกร จะกระทำได้แต่โดยเงื่อนไขดังต่อไปนี้

                        (1)  สมาชิกผู้โอน ได้ออกหรือจะออกจากกลุ่มเกษตรกร และจะโอนหุ้นซึ่งชำระเต็มมูลค่าแล้ว

                        (2)  สมาชิกผู้โอนไม่มีหนี้สินของตนซึ่งต้องรับผิดต่อกลุ่มเกษตรกรโดยตรง

                        (3)  ผู้รับโอนต้องเป็นสมาชิกในกลุ่มเกษตรกรนี้ หรือผู้สมัครซึ่งคณะกรรมการดำเนินการตกลงให้รับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว

          ข้อ....การจ่ายคืนค่าหุ้นของสมาชิกซึ่งออกเพราะตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ กลุ่มเกษตรกรจะจ่ายแก่ผู้ซึ่งได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการดำเนินการว่าตนเป็นทายาทหรือผู้อนุบาลของสมาชิกนั้นสุดแต่กรณี

          5. ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ.2563

          6. คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องวิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ พ.ศ.2547

ไม่มีความคิดเห็น:

เงินฝากค้างนานในสหกรณ์

1. ประเด็นปัญหา 1.1 ในกรณีที่สมาชิกผู้ฝากเงินในสหกรณ์ ขาดจากสมาชิกภาพด้วยเหตุเสียชีวิต แล้วทายาท หรือผู้รับโอนประโยชน์ มิได้ไปติดต่อกับสหก...